วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การชลประทาน

การชลประทาน
ธนัท ธัญญาภา (2537) กล่าวว่า การให้น้ำสวนไม้ผลจะเป็นสิ่งจำเป็น หรือมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและภูมิประเทศ สวนผลไม้เก่าๆ ในภาคกลางของประเทศไทยโดยทั่วไปไม่มีการให้น้ำแก่ต้นไม้ผลเลย อย่างไรก็ตาม สวนไม้ผลที่ทำการผลิตเป็นการค้าและต้องการผลผลิตสูง จำเป็นต้องมีการให้น้ำในฤดูแล้ง แต่การศึกษาเกี่ยวกับการให้น้ำแก่ไม้ผลในประเทศไทยยังมีไม่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการน้ำของไม้ผลแต่ละชนิดในสภาพแวดล้อมต่างๆ วิธีการให้น้ำปริมาณต่างๆ และเวลาที่ควรจะให้แก่ต้นไม้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ สวนไม้ผลที่มีแหล่งน้ำบริบูรณ์มักจะให้น้ำมากเกินควร ในขณะที่สวนไม้ผลที่มีแหล่งน้ำจำกัดให้น้ำไม่พอเพียงทำให้สูญเสียผลผลิตไปจำนวนมาก ดังนั้นในบทนี้จึงได้เพิ่มวิธีการคำนวณการให้น้ำแก่พืช ขึ้นเพื่อเป็นปฐมบทแก่นักศึกษาพืชสวนหากต้องการรู้เพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ในวิชาการจัดการน้ำของพืชสวน







รูปที่ 1.11 การวางท่อโคนต้น รูปที่ 1.12 ติดตั้งประตูน้ำ

การให้น้ำไม้ผลควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
1 ) ความต้องการน้ำของต้นไม้ผล พืชจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเจริญเติบโตและชดเชยการคายน้ำในสภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำจะทำให้พืชคายน้ำมาก ความต้องการน้ำของพืชเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่จะเป็นตัวกำหนดปริมาณและเวลาที่จะให้น้ำ หลังจากนั้นก็จะต้องพิจารณาถึง 2 ) ความชื้น ในดิน ซึ่งในฤดูแล้งดินมีความชื้นต่ำ เมื่อน้ำในดินมีไม่พอเพียงที่จะชดเชยการคายน้ำ พืชจะอยู่ในสภาพขาดน้ำ ถ้าสภาพนี้รุนแรงมากขึ้นพืชจะเริ่มเหี่ยวและถ้าสภาพนี้ยังคงอยู่ต่อไปพืชจะตายในที่สุด ความชื้น ในดินจะเป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำที่จะให้แก่ต้นไม้ผลและท้ายสุดต้องคำนึงถึง 3 )ชนิดของดิน ทั้งนี้ดินเหนียวจะมีปริมาณน้ำที่เป็นประโยชน์แก่พืชมากกว่าดินร่วน และดินทรายตามลำดับ การให้แก่แก่ดินเหนียวจึงสามารถเว้นระยะได้นานกว่า สำหรับดินทรายมีความสามารถดูดซับน้ำไว้ได้น้อยจึงควรให้น้ำบ่อยๆ แต่ละครั้งที่ให้ก็ควรจะให้ในปริมาณที่พอที่พืชจะนำไปใช้ได้ ดังนั้น ชนิดของดินจึงเป็นตัวกำหนดความถี่ในการให้น้ำ

วิธีการให้น้ำ
วิธีการให้น้ำมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน ผู้ปลูกไม้ผลจะต้องศึกษาหาวิธีที่เหมาะสมกับสภาพสวนไม้ผลของตน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนการลงทุนสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่นไม้ผลที่มีราคาถูกถ้าเลือกวิธีการให้น้ำที่ต้องลงทุนสูงก็จะทำให้ได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า และสวนไม้ผลที่ได้น้ำมาในราคาถูกก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งต้องลงทุนสูง เป็นต้น วิธีการให้น้ำแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
การให้น้ำที่ทำให้ดินเปียกโดยทั่วถึง ซึ่งแบ่งได้ 2 พวก
1. การควบคุมระดับน้ำในดิน เมื่อต้องการให้น้ำแก่พืชจะสูบน้ำใส่คูคลองจนทำให้ระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้นจนถึงบริเวณราก แล้วจึงลดระดับน้ำใต้ดินลงให้พ้นบริเวณราก
2. การให้น้ำแก่ผิวดิน ได้แก่การให้น้ำแบบท่วมแปลง โดยแบ่งเป็นแปลงๆ
และการให้น้ำแบบพ่นฝอย (sprinkler)
การให้น้ำให้ดินเปียกเฉพาะบางส่วนของแปลง ซึ่งแบ่งได้ 2 พวก คือ
1.การให้น้ำใต้ผิวดิน โดยการฝังระบบให้น้ำไว้ใต้ดิน วิธีนี้จะประหยัดน้ำได้มากที่สุด แต่ต้องลงทุนสูง การออกแบบและการดูแลรักษาซ่อมแซมค่อนข้างจะยุ่งยาก
2.การให้น้ำแก่ผิวดิน ได้แก่การให้น้ำแบบร่องและการให้น้ำแบบหยด และพ่นฝอยเป็นที่ ( localized irrigation)
ในปัจจุบันนี้การให้น้ำแบบหยดและการให้น้ำแบบพ่นฝอยได้รับการพัฒนามากขึ้น เพื่อใช้ในพื้นที่ที่มีน้ำจำกัดหรือราคาสูง










รูปที่ 1.13 การให้น้ำเหนือทรงพุ่ม รูปที่ 1.14 การให้น้ำโคนต้น





ข้อได้เปรียบของการให้น้ำแบบหยด และพ่นฝอยเป็นที่ (localized irrigation)
1. ทำให้การจัดการอื่นๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวก หรือทำได้ในขณะที่ให้น้ำ เช่น การตัดแต่งกิ่ง การเก็บเกี่ยว และการพ่นยาป้องกันกำจัดโรคแมลงสามารถทำได้ในขณะที่ให้น้ำ แต่ถ้าใช้วิธีการให้น้ำแบบอื่นอาจมีปัญหา
2. ประหยัดค่าแรงงานและพลังงานที่ใช้ในการให้น้ำ เมื่อเทียบกับการให้น้ำแบบพ่นฝอย(sprinklers)จะประหยัดได้ 50-70 เปอร์เซ็นต์
3. สามารถควบคุมปริมาณน้ำที่จะให้ได้ดี ช่วยประหยัดน้ำไม่ให้สูญเสียในรูปที่ระเหยหรือไหลซึมพ้นเขตราก เมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำแบบพ่นฝอย มีรายงานว่าช่วยประหยัดน้ำได้ 20-50 เปอร์เซ็นต์
4. สามารถให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ำ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการให้ปุ๋ย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย มีรายงานว่าทำให้ผลผลิตสูงขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการให้น้ำแบบอื่นๆ
5. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดโรคแมลง และวัชพืช เนื่องจากการให้น้ำแบบหยดและพ่นฝอยเป็นที่จะไม่ทำให้ใบเปียก ทำให้สารเคมีที่พ่นไว้ที่ใบไม่ถูกชะล้าง ความชื้น ในอากาศจะไม่สูงขึ้น ช่วยลดปัญหาโรคบางชนิด และบริเวณที่ไม่ได้น้ำหยดดินและพ่นฝอยเป็นที่จะแห้งมากจนวัชพืชแห้งตาย
7. ในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม และน้ำที่จะใช้มีเกลืออยู่ในปริมาณมากเมื่อใช้วิธีการให้น้ำแบบน้ำหยดและพ่นฝอยเป็นที่จะช่วยให้ปลูกพืชบางอย่างได้ เพราะระบบน้ำหยดและพ่นฝอยเป็นที่จะทำให้ดินมีความชื้นสูงตลอดเวลา ทำให้เกลือมีความเข้มข้นต่ำกล่าวระดับอันตรายตลอดเวลา
8. ดินที่มีปัญหาการ ให้น้ำแบบอื่น สามารถใช้ระบบน้ำหยดและพ่นฝอยเป็นที่โดยไม่มีปัญหา เช่น ดินเหนียวจัดเมื่อให้น้ำแบบพ่นฝอยจะมีปัญหาน้ำซึมลงไปในดินช้ามาก ทำให้น้ำท่วมผิวดินและไหลออกนอกแปลงปลูก ส่วนดินทรายจัดไม่สามารถให้น้ำแบบร่องได้ เพราะมีอัตราการซึมสูงจนไม่มีน้ำไหลไปถึงปลายร่อง ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการให้น้ำแบบหยดและพ่นฝอยเป็นที่ 9. เมื่อแหล่งน้ำมีน้ำจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่งน้ำที่ให้น้ำออกมาช้าๆ เช่นแหล่งน้ำซับหรือบ่อบาดาลที่มีน้ำไม่บริบูรณ์ เมื่อใช้วิธีการให้น้ำอื่นๆ แล้วมีปัญหาน้ำไม่พอเพียง จำเป็นต้องใช้ระบบน้ำหยดและพ่นฝอยเป็นที่
10. บนพื้นที่ภูเขา มักจะมีปัญหาไม่สามารถให้ด้วยวิธีอื่นๆ เพราะมีความยุ่งยากในการจัดการ จึงจำเป็นต้องให้น้ำแบบหยดและพ่นฝอยเป็นที่
ข้อเสียเปรียบของการให้น้ำแบบหยด และพ่นฝอยเป็นที่
1. มีปัญหาในการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการอุดตัน 2. ในพื้นที่มีปัญหาดินเค็มบริเวณรอบนอกของดินที่เปียกน้ำจะมีการสะสมเกลือสูงขึ้น เมื่อ มีฝนตกเล็กน้อยฝนจะละลายเหลือบริเวณนี้ทำให้มีเกลือสูงขึ้นอาจเป็นอันตรายต่อรากพืช
3.จำกัดการเจริญเติบโตของรากพืชให้อยู่เฉพาะบริเวณใกล้ตำแหน่งน้ำหยด
4. เมื่อต้องการเพิ่มความชื้นของอากาศ การให้น้ำแบบพ่นฝอยจะช่วยได้ แต่การให้น้ำแบบ หยดจะไม่สามารถเพิ่มความชื้น ในอากาศ
5.การให้น้ำแบบหยด ต้องใช้ทุนเริ่มแรกสูง การออกแบบ งานแผน และการแก้ไขดัดแปลงจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ






รูปที่ 1.15 การให้น้ำบริเวณโคนต้นมะม่วง

1 ความคิดเห็น:

pg slot กล่าวว่า...

สล็อต ทางเข้าเล่นที่ดี เว็บออนไลน์ วอเลท เกม pg slot ออนไลน์ยอดฮิตมากที่สุดในขณะนี้ เว็บ pg มาพร้อมเกมส์ออนไลน์ PG SLOT เกมที่มีให้เลือกเล่นมากกว่า 100 เกมให้เลือกเล่น