วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การจัดการดิน
ในประเทศที่กำลังพัฒนามีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการดินให้ปุ๋ยไม้ผลน้อยมา ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องช่วยตัวเองด้วยการศึกษาหาความรู้และปรึกษาผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน การสำรวจดิน และการวิเคราะห์ดิน จะทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำไปปรึกษาผู้รู้และรับคำแนะนำมาลองปฏิบัติ โดยทั่วไปการจัดการดิน ธนัท ธัญญาภา (2537) ได้บรรยายว่าจะต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. ชนิดของดิน
ดินมีองค์ประกอบใหญ่ๆ อยู่ 4 อย่างคือ อากาศ น้ำ ส่วนที่เป็นอินทรีย์สาร และส่วนที่เป็นอนินทรีย์สาร ซึ่งประกอบด้วยทราย (sand) ซิ้ลท์ (silt) และแร่ดินเหนียว (Clay) เป็นหลัก ส่วนที่เป็นอินทรีย์สารมีทั้งส่วนที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
คุณสมบัติของดินส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของ อนินทรีย์ สารว่ามีสัดส่วนของ ทรายซิ้ลท์ และแร่ดินเหนียว แตกต่างกันอย่างไร การจัดการดินด้วยวิธีต่างๆ จะขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติของดิน ซึ่งมีปัญหาแตกต่างกันออกไป

2. ลักษณะพื้นที่
พื้นที่ลุ่ม ที่ดอน ที่สูง หรือพื้นที่ลาดเอียง จะเป็นตัวกำหนดวิธีการที่ใช้เกี่ยวกับการจัดการ เพราะพื้นที่ต่างกันก็มีข้อจำกัดแตกต่างกัน

3. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
พืชได้รับธาตุอาหารมากน้อยเพียงใดขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งมีปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้องอยู่หลายอย่าง เช่น ชนิดของพืชที่ปลูก ปฏิกิริยาร่วมของธาตุอาหารในดินและความเป็นกรด-ด่าง ของดินเป็นต้น
พืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหารชนิดต่างๆ ในปริมาณต่างกัน และมีความสามารถในการนำธาตุอาหารในดินไปใช้ประโยชน์ได้ต่างกัน นอกจากนี้ อาหารในดินก็มีปฏิกิริยาร่วมกัน เช่น ถ้าดินมีโปรแตสเซี่ยมรวมกัน อาจทำให้ได้ประโยชน์จากแคลเซี่ยมได้น้อยลง
ความเป็นกรด-ด่างของดิน จะเป็นตัวกำหนดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน โดยทั่วไปดินที่เป็นกรดเล็กน้อยจะมีธาตุอาหารในดิน โดยทั่วไปดินที่เป็นกรดเล็กน้อยจะมีธาตุอาหารต่างๆ อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ ดินที่เป็นกรดหรือเป็นด่างมากเกินไป จะทำให้ธาตุอาหารบางอย่างอยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ จนทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุได้









ธาตุอาหารที่มีความสำคัญและดินโดยทั่วไปมักจะมีไม่เพียงพอได้แก่
1. ไนโตรเจน อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งไนโตรเจนที่สำคัญในดิน จุลินทรีย์ ในดินจะสลายอินทรีย์วัตถุเพื่อให้พืชนำไนโตรเจนไปใช้
2. ฟอสฟอรัส พืชได้รับฟอสฟอรัสจากการสลายตัวของอนินทรีย์ และอินทรีย์วัตถุโดยทั่วไปฟอสฟอรัสทั้งหมดในดินจะอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้เพียง 0.5-1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
3. โปแตสเซียม ไมก้าและเฟลสปา เป็นแหล่งโปแตสเซี่ยมที่สำคัญในดิน เมื่อสลายตัวจะให้เกลือโปแตสเซียมที่ละลายน้ำ ซึ่งพืชจะนำไปใช้ได้ทันที โปแตสเซียมในดินยังอยู่ในรูปอื่นๆ อีกเช่น อยู่ในรูปไออ้นซึ่งถูกดูดยึดโดยคอลลอย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: