วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกนี้ ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ เทโนโลยีการจัดการสวนผลไม้ของไทย สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับสวนผลไม้ต่าง ๆ ได้

เทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
สุเมษ เกตุวราภรณ์ (2537) กล่าวว่าในการศึกษาเกี่ยวกับการเก็บผลไม้จากต้น (harvesting) ควรเข้าใจคำว่า “maturity” ซึ่งเป็นสภาพของผลที่พร้อมจะเก็บได้ ความหมายของคำนี้ในทางพืชสวนหมายถึงผลไม้ซึ่งพร้อมที่จะเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ คืออาจอยู่ในสภาพยังอ่อนอยู่จนถึงแก่เต็มที่ ส่วนในทางพฤกษศาสตร์นั้น หมายถึงผลที่เจริญจนเต็มที่ไม่เพิ่มขนาดอีกต่อไป ฉะนั้นในทางพืชสวนจึงทราบ maturity ได้ยากกว่าทางพฤกษศาสตร์
การเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนอันหนึ่งที่เสียค่าใช้จ่ายสูง ไม้ผลบางชนิดจะเสียค่าใช้จ่าย ในการเก็บเกี่ยวสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ของราคาผลผลิต ความพยายามที่จะลดการสูญเสียผลผลิตในการเก็บเกี่ยว และการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวจะช่วย ให้ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นอย่างมาก การเก็บเกี่ยว ผลไม้แบ่งออกได้ 2 อย่างใหญ่ ๆ คือ
1. การใช้มือเก็บเกี่ยว (hand picking) เป็นวิธีการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพดี สามารถคัดเลือกผลไม้ที่จะเก็บเกี่ยว และมีความเสียหายต่อผลผลิตไม่มากนัก แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการบริหารแรงงานและเสียค่าใช้จ่ายสูง การเก็บเกี่ยวด้วยมือบางครั้งก็มีการใช้เครื่องมือช่วยบ้าง เช่น การเก็บเกี่ยวมะม่วง อาจจะใช้ตระกร้อสอย ไม้ผลบางชนิดมีขนาดต้นสูงมากจำเป็นต้องใช้บันไดช่วยในการเก็บเกี่ยว อุปกรณ์ที่ช่วยในการเก็บเกี่ยวด้วยมือมีมากมายหลายชนิด ผู้ผลิตจะต้องศึกษาวิธีการเก็บไม้ผลแต่ละชนิด แล้วตระเตรียมอุปกรณ์ช่วยในการเก็บเกี่ยวให้พร้อม
2. การใช้เครื่องจักรกล (harvesting machine)ในประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมีปัญหาค่าแรงสูง ดังนั้นเพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวจึงมีผู้ผลิตเครื่องจักรแบบต่างๆ หลายชนิดเพื่อจะใช้ในการเก็บเกี่ยวไม้ผลแต่ละอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ผลที่จะนำไปส่งโรงงานแปรรูป เช่น บรรจุกระป๋องหรือทำแยม เป็นต้น

รูปที่ 3.1 องุ่นที่พร้อมเก็บเกี่ยวผลผลิต


การเก็บเกี่ยวผลไม้ถือหลักที่ว่าผลไม้บอบช้ำน้อยที่สุด เช่นการเก็บเกี่ยวกล้วยเราอาจใช้ถุงพลาสติกบาง ๆ คลุมเครือกล้วยเสียก่อนแล้วจึงตัดเครือออกจากต้นจะช่วยป้องกันรอยข่วน (bruise) บนผลกล้วยได้ หรือการเก็บเกี่ยวผลไม้ลูกโตๆ จากต้นสูงๆ อาจต้องใช้เชือกผูกลูกแล้วค่อยหย่อนลงมาเป็นต้น ผลไม้บางชนิดจะต้องปล่อยให้อยู่บนต้นจนมีคุณภาพที่ต้องการเสียก่อนจึงจะเก็บได้ เช่น องุ่น เงาะ เป็นต้น ถ้าเราเก็บผลไม้เหล่านี้ในระยะที่ยังไม่สุกจะทำให้รสเปรี้ยวหรือคุณภาพไม่เป็นที่พอใจของผู้บริโภค ทั้งนี้เพราะผลไม้ประเภทนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงให้เป็นน้ำตาลได้ หลังจากเก็บมาจากต้นแล้ว แต่ไม้บางประเภทเมื่อเก็บจากต้นแล้วสามารถเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลได้เราก็อาจเก็บก่อนที่ผลจะสุกเต็มที่ได้ เช่น กล้วยและสับปะรด เพื่อส่งตลาดไกๆ ก็อาจเก็บในระยะ “mature green” เป็นต้น
การเจริญเติบโตของผลไม้ก่อนถึงระยะสุกเต็มที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งรวมอยู่ใน “ripening process” ผลไม้จะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. การเพิ่มขนาดของผล หลังจากติดผลแล้ว การเจริญเติบโตของผลไม้โดยทั่วไป จะมีการเพิ่มขนาดทั้งในทางเส้นผ่าศูนย์กลางและทางด้านยาว การเจริญของผลแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ว่าด้วยการเจริญของผล
2. การเปลี่ยนสีของส่วนต่างๆ ของผล สีเปลือกของผล แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ สีพื้น (ground color) เป็นสีพื้นของผิวก่อนที่จะเกิดสีทับ (over color) สีพื้นโดยทั่วไปแล้วจะมีสีเขียวแต่ผลไม้บางชนิด เช่น ชำมะเลียง (Otophora cambodiana) เปลือกผลขณะที่ยังอ่อนอยู่จะมีทั้งสีเขียวปนสีเหลืองแดง ส้ม หรือสีอื่นๆ แล้วแต่ชนิดของผลไม้ นอกจากเปลือกผิวของผลจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผลแก่แล้ว เนื้อของผล และเมล็ดก็จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นกันการที่ผลไม้มีสีต่างๆ กันนั้นจะเกี่ยวกับชนิดของเม็ดสี (pigments) ซึ่งมีอยู่ในเซลล์ของผล ที่เกิดในคลอโรฟิลล์ คลอโรฟิลล์ เอ (chlorophyll a) มีสี blue black คอลโรฟิลล์ บี มีสี greenish black นอกจากนี้มีเม็ดสี คาโรตินอยส์ (carotinoids) ซึ่งมีสีเหลืองซีดจนถึงสีแดงสด ประกอบด้วยสารหลายชนิดเป็น ไลโคฟิน (lycopene) มีสีแดงแอลฟา-คาโรติน (alfa-carotene) พบในดอกและที่รากแครอท เบตา-แคโรตีน (beta-carotene) พบในมะละกอ นอกจากนี้พบเม็ดสีอยู่ในเซลล์แซฟ เช่น แอนโธแซนทิน (anthoxanthins) ซึ่งมีสีเหลือง สารเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อผลแก่ขึ้น จึงทำให้ผลไม้มีสีต่างๆ นอกจากนี้สีของผลไม้จะเป็นผลที่เกิดจากอุณหภูมิและแสงแดดด้วย
3. การอ่อนตัวของผล (solftening) เมื่อผลไม้ยังไม่แก่ผลจะแข็งตัวมาก เมื่อแก่เข้าจะค่อยๆ อ่อนตัวลง ทั้งนี้เพราะมิดเดิล ลาเมลล่า (middle lamela) ซึ่งอยู่ในผนังเซลล์ เปลี่ยนแปลงและสลายตัวไป ทำให้เซลล์แต่ละเซลล์แต่ละเซลล์หลุดออกจากันกิ่งแก่เข้าการยึดเกาะของเมล็ดจะลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดจะสลายตัวหมดเมื่อผลสุกงอม
4. การเกิดนวล (bloom) ไม้ผลบางชนิดจะขับสารบางอย่างออกมาอาจเป็นพวกขี้ผึ้ง มีลักษณะเป็นผลอ่อนๆ เกาะอยู่ตามผิวของผลเมื่อผลไม้ผลใกล้จะแก่ ผลอันนี้เราเรียกว่า “นวล” หรือ bloom
5.จำนวนแป้งในผลลดลง เมื่อผลติดใหม่ๆ อาหารที่ส่งไปจากใบซึ่งปกติอยู่ในรูปของสารละลายพวกน้ำตาล เมื่อถึงผลจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นแป้งสะสมอยู่ พอแก่ขึ้นแป้ง (carbohydrates) จะค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อน้ำตาลเพิ่มขึ้นแป้งจะลดลงเรื่อย ๆ แต่ในพืชบางชนิด เช่น ข้าวโพดหวาน ถ้าเราเก็บไว้ในห้องธรรมดาหลังจากเก็บผักมาจากต้นแล้วเกิน 24 ชั่วโมง น้ำตาลในผลจะเปลี่ยนเป็นแป้งได้
6. ความถ่วงจำเพาะของผลเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะผลจะสะสมอาหารต่างๆ เพิ่มขึ้น จึงทำให้น้ำหนักของผลเพิ่มขึ้น
7. สารบางอย่าง เช่น กรดแทนนิน (tannin) จะลดลงเมื่อผลใกล้จะแก่เน่าผลไม้บางชนิดที่เรียกว่า “acid fruit” กรดภายในผลจะเพิ่มขึ้นทุกทีเมื่อแก่ขึ้น ปกติแทนนิน (tennin) จะลดลง จึงทำให้ผลไม้สุกมีรสฝาด (astringency) น้อยลงสารบางอย่าง เช่น ไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) จะเพิ่มขึ้น เช่น ในผลมะพร้าว ลูกเนย (avocado) ผลไม้บางชนิดเมื่อแก่จะมีเทนนินเพิ่มขึ้น
จากการเปลี่ยนแปลงของผลไม้ดังกล่าวมาแล้วนี้ เรานำมาใช้เป็นประโยชน์ในการเก็บ (picking) ผลไม้โดยตั้งเป็นมาตรฐานในการเก็บที่เรียกว่า “picking index” การเก็บเราอาจใช้มาตรฐานเก็บวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้
1. การใช้ขนาด การวัดขนาดของผลไม้นิยมใช้กับสวนทั่วๆ ไป โดยมากชาวสวนใช้ความชำนาญ ไม่มีอะไรเป็นมาตรฐาน ถ้าเราทำมาตรฐานสำหรับผลไม้แต่ละชนิดไว้เช่น ทำเป็นห่วงมีด้ามมีเส้นผ่าศูนย์กลางแปรไปตามชนิดของผลไม้ การใช้อาจทำได้ โดยการเก็บผลไม้ในสวนมา แล้วใช้ห่วงครอบดู เราจะทราบว่าผลไม้ชนิดต่างๆ ที่แก่พอจะเก็บได้นั้นโตขนาดไหน แล้วก็ทำเป็นมาตรฐานไว้
2. การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง ผลไม้บางชนิดเมื่อแก่แล้ว บางส่วนของผลจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไป เช่น กล้วยถ้าเหลี่ยมลบแสดงว่าแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ แต่ถ้าเก็บก่อนเหลี่ยมลบจะบ่มสุกช้า หรือทำให้คุณภาพเสียไป ในขนุนดูการเปลี่ยนแปลงของหนาม (stigma) ว่าหนามห่างก็แสดงว่าแก่แล้ว ผลระกำถ้าแก่ต้นขั้วจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นต้น
3. ดูสีส่วนต่างๆ ของผล ผลไม้ส่วนมากถ้าสุกจะมีสีเหลือง เพราะเกิดสารบางอย่างขึ้น เช่น คาโรตีน (carotene) แอนโธแซนธิน (anthoxanthins) คาโรตินอยด์ (carotinoids) เป็นต้น ผลไม้บางชนิดมักจะมีสีเมื่อใกล้จะสุก อย่างไรก็ดีสีของผลไม้อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ แสงแดด ฉะนั้นควรพิจารณาให้รอบคอบ เช่น ส้ม เขียวหวานทางภาคเหนือ จะเหลืองกว่าที่ปลูกในแถวภาคกลางเพราะอุณหภูมิทางเหนือเย็นกว่า ผลไม้บางชนิดเวลาโดนแดดจัด สีผิวของผลจะซีดลง เป็นต้น นอกจากนี้การดูสีเนื้อ และสีเมล็ดจะทำให้ทราบความแก่อ่อนของผลได้ สีของเนื้อมักจะไม่ใช่เป็นมาตรฐาน มีเพียงบางชนิดเท่านั้นแต่ส่วนมากไม่แน่นอน ปกติเมล็ดของผลเมื่อแก่จะมีสีคล้ำหรือดำ และชาวสวนนิยมใช้กัน
4. ขั้วผล ตรงส่วนขั้วที่ต่อมาจากกิ่งของผลไม้บางชนิด เมื่อแก่จะมีรอยหรือเกิด abscision zone ตาย แบ่งแยกผลออกจากกิ่ง เช่น แตงไทย เป็นต้น
5. จำนวนวัน การใช้จำนวนวันเป็นมาตรฐานในการเก็บเกี่ยวเราอาจทำได้โดยเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งของการเจริญเติบโต เช่น ตั้งแต่เริ่มออกดอก ปกติเราเริ่มตั้งแต่ระยะ “full bloom” คือเมื่อดอกในต้นบานประมาณ 70-75 % จากระยะนี้เราก็ศึกษาหรือนับดูว่าใช้เวลากี่วันจึงถึงเวลาเกี่ยวได้ แล้วทำเป็นมาตรฐานสำหรับผลไม้ชนิดหนึ่งในท้องถิ่นเฉพาะแห่งไป วิธีนี้เป็นวิธีง่ายและควรใช้เป็นไม้ผลที่ใช้เวลาแก่นาน อย่างไรก็ดีจำนวนวันที่แก่ของผลไม้บางชนิดอาจแตกต่างออกไป ถ้าเราเก็บเกี่ยวเพื่อส่งตลาดที่มีระยะทางต่างกัน เช่น การเก็บผลไม้เพื่อส่งไปตลาดต่างประเทศที่มีระยะทางไกลจำนวนวันอาจจะน้อยกว่าพวกที่จะส่งตลาดภายในเพราะต้องการให้ผลไม้เก็บอยู่ได้นานวันขึ้น การใช้มาตรฐานการเก็บแบบนี้อาจได้รับความกระทบกระเทือนได้ถ้าดินฟ้าอากาศแปรปรวน แต่ถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็สามารถเตรียมแผนการเก็บล่วงหน้าได้
6. การใช้หน่วยความร้อน (heat unit) ในพืชบางอย่างเราอาจบอกระยะเก็บเกี่ยวได้ โดยใช้ความร้อนที่พืชนั้นได้รับ คือพืชจะค่อยสะสมความร้อนในแต่ละวันจนครบ heat unit ของพืชหาได้โดยการเอาอุณหภูมิต่ำสุดที่พืชจะขึ้นได้ (zero point) หรือ minimum หรือ best-line temperature ไปลบกับอุณหภูมิเฉลี่ยประจำวันผลต่างก็จะเป็นจำนวนความร้อนมีหน่วยเป็น “degreen day” และถ้าเอา 24 คูณ ก็จะเป็น “degree-hour” ตัวอย่าง เช่น ไม้ผลชนิดหนึ่งมีอุณหภูมิต่ำสุดที่จะขึ้นได้ 50 จF ถ้ามีอุณหภูมิเฉลี่ยประจำวัน 60 จF ในวันนั้นพืชจะได้รับความร้อนเท่ากับ 10 degree-day แต่ถ้าวันนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ย 40 จF ความร้อนที่พืชได้รับในวันนั้นจะเป็น 0 degree-day
พืชแต่ละชนิดจะมี heat unit ตายตัว ในพันธุ์ต่างๆ ของพืชชนิดเดียวกันอาจมี heat unit ต่างกัน เช่น ในองุ่นจะมี heat unit อยู่ในช่วง 1,500-3,000 degree-day พันธุ์คาดินัล (Cardinal) ต้องการความร้อนตั้งแต่ดอกบนจนถึงสุกประมาณ 1,800-2,000 degree-day พันธุ์ไวท์มาละกา (White Malaga) ต้องการความร้อนประมาณ 3,000 degree เป็นต้น
การใช้จำนวนความร้อน เป็นมาตรฐานในการเก็บเกี่ยวในเขตที่มีอุณหภูมิร้อนจัดเกินไป จะทำให้การคำนวณผิดพลาดได้ เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยประจำวันมากเกินไป ในจำนวนนี้พืชจะเอาไปใช้เป็นบางส่วนเท่านั้น
7. การใช้จำนวนแป้งในผล การใช้จำนวนแป้งในผลเป็นเครื่องวัด อาศัยหลักที่ว่าผลไม้จะเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลเมื่อแก่ เราต้องทำการศึกษาดูว่าเมื่อผลแก่เต็มที่หรือสุกจะมีแป้งเหลือเท่าไร แล้วทำเป็นมาตรฐานเอาไว้
8. การใช้จำนวนน้ำตาล ปริมาณน้ำตาลจะเพิ่มขึ้นในขณะที่แป้งลดลงเมื่อผลแก่เพราะแป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล เราควรศึกษาดูว่าไม้ผลชนิดใดมีน้ำตาลเท่าใด จึงควรจะเก็บและถือเป็นมาตรฐานว่าผลไม้นั้นแก่แล้ว น้ำตาลในผลไม้มีหลายอย่าง ถ้าเราจะทำการหาโดยละเอียดจะเป็นการยาก จึงใช้วัดในรูปของ soluble solids คือเป็นจำนวนของ solids ที่ละลายอยู่ในเซลล์แซบ จะเป็นน้ำตาล การวัดทำได้ 2 วิธีคือ
ก. วัดจากความแน่น (density) ของเซลล์หรือน้ำหวานของผลไม้โดยการนำเอาน้ำหวานที่เราคั้นมาจากผลไม้ใส่ลงไปในกระบอกหรือภาชนะที่เขามีไว้ให้ และใช้ Brix Hydrometer จุ่มลงไปก็จะทราบปริมาณน้ำตาลได้ การใช้ไฮโดรมิเตอร์จะต้องวัดตามอุณหภูมิที่เขากำหนดให้ หรือถ้าวัดอุณหภูมิที่แตกต่างออกไปก็อาจทำการแก้ไขให้ถูกต้องได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับวัดผลไม้ที่มีน้ำหวานมากๆ
ข. ใช้ทำการหักเหของแสง โดยอาศัยการหักเหของแสงมากน้อยเป็นเกณฑ์ คือปกติแสงจะหักเหตามความหนาแน่นของสารละลาย วัดได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “sugar refractometer”
9. การใช้อัตราส่วนของแป้งต่อน้ำตาล เป็นการหาทั้งปริมาณของแป้งและน้ำตาลเมื่อผลแก่พอจะเก็บได้ แล้วทำเป็นตัวเลขไว้สำหรับผลไม้แต่ละชนิด
10. การใช้จำนวนกรดในผล เป็นการหาปริมาณของกรดที่มีอยู่ในน้ำหวานผลไม้ โดยการ titrate น้ำหวานกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) แล้วเอาตัวเลขมาทำมาตรฐานไว้
11. ใช้อัตราส่วนระหว่างน้ำตาลต่อกรด (S/A ratio) ผลไม้บางชนิดจะใช้กรดหรือน้ำตาล แต่เพียงอย่างเดียวจะไม่เหมาะสม เพราะเราต้องการให้มีรสเปรียวกับหวานปนกัน เช่น ส้ม เวลาซิมดูจะรู้สึกว่ามีรสแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลและกรดรสเปรี้ยวหวานในน้ำส้มนั้นปกติใช้น้ำตาลต่อกรดในอัตรา 6:1 แต่อาจผิดไปจากนี้ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคนหรือแต่ละชาติ ผลไม้บางชนิดเราต้องการรสหวานแก่เพียงอย่างเดียวเช่น มังคุด ทุเรียน มะม่วงสุก เราก็ใช้น้ำตาลเพียงอย่างเดียวเป็นมาตรฐานในการเก็บเกี่ยว
12. การอ่อนตัวของผล เราทราบว่าแล้วว่าเมื่อผลแก่ขึ้น การอ่อนตัวของผลจะมีมากขึ้น การวัดทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “pressure tester” มีอยู่ 2 ขนาด คือขนาดใหญ่ใช้กับผลไม้ที่มีเนื้อแข็งมาก อีกอย่างหนึ่งขนาดเล็กกว่าใช้สำหรับการวัดการอ่อนตัวของผลไปที่มีเนื้ออ่อนๆ บนเครื่อง

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
ธนัท ธัญญาภา(2537) กล่าวว่าหลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวผลไม้มาแล้ว จะต้องมีขั้นตอนอีกหลายอย่างที่จะต้องจัดการกับผลไม้ ผลไม้บางอย่างอาจมีขั้นตอนน้อยมากเพราะราคาต่ำมาก ส่วนผลไม้ที่มีราคาสูง จะมีขั้นตอนมาก หลังจากเก็บเกี่ยวผลไม้อาจถูกทำความสะอาด ผลไม้บางอย่างจะถูกล้างน้ำหรือนำไปคัดขนาดแบ่งแยกตามคุณภาพของผล เช่น สีของผล จากนั้นจึงถูกนำไปบรรจุในภาชนะการคัดขนาดและการบรรจุไม้ผลบางชนิดก็ใช้เครื่องจักร
โดยทั่วไปผลไม้จะถูกนำไปขายโดยทันที แต่ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการขนส่ง หรือมีปัญหาการตลาด เช่น จะต้องขนส่งระยะทางไกล หรือราคาผลผลิตตกต่ำ ก็จะต้องมีวิธีการยืดอายุของผลไม้ด้วยวิธีการต่างๆ วิธีการเหล่านี้ได้แก่
การใช้อุณหภูมิต่ำ เมื่อเก็บเกี่ยวผลไม้มาแล้ว และได้ดำเนินตามขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งบรรจุภาชนะแล้ว ผลไม้จะถูกนำไปลดอุณหภูมิลงซึ่งอาจจะใช้ลมเย็น น้ำเย็น หรืออาจใช้วิธีลดความดันอากาศในภาชนะปิดที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เมื่อผลไม้มีอุณหภูมิต่ำตามที่กำหนดแล้ว จึงนำไปเก็บรักษาในห้องเย็น โดยขนส่งด้วยรถยนต์หรือเรือที่มีระบบห้องเย็น ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ การเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำจะช่วยให้ผลไม้ลดอัตราการหายใจลงทำให้ผลไม้มีอายุยืนยาวนานขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบว่าผลไม้ชนิดต่างๆ ควรจะเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ แตกต่างกัน ผลไม้เขตร้อนบางอย่าง เช่น กล้วยหอมทองถ้าเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส จะทำให้เปลือกผลเป็นสีดำไม่สามาถนำไปจำหน่ายได้ นอกจากอุณหภูมิที่เก็บรักษาจะเหมาะสมแล้ว การหมุนเวียนของอากาศจะช่วยให้อุณหภูมิในห้องเย็นมีคามสม่ำเสมอ และจะต้องมีความชื้นสัมพัทธ์สูงพอเหมาะกับความต้องการของผลไม้แต่ละชนิด ตัวอย่างสภาพการเก็บรักษาที่เหมาะสม และอายุการเก็บรักษาของผลไม้บางชนิดสามารถสรุป

การเก็บรักษาโดยควบคุมบรรยากาศรอบๆ ผลไม้ (Controlled Atmosphere storage)
การเก็บรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องใช้โรงเก็บที่ปิดสนิทไม่ให้มีการรั่วไหลของอากาศ โดยทั่วไปจะใช้ร่วมกับอุณหภูมิต่ำ แล้วเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และลดปริมาณออกซิเจน ในโรงเก็บ วิธีการดังกล่าวเริ่มใช้ครั้งแรก กับการเก็บรักษาแอบเปิ้ลในประเทศอังกฤษ เนื่องจากแอปเปิลบางพันธุ์เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ (ศูนย์องศาเซลเซียส) แล้วยังมีปัญหาเก็บได้ไม่นาน โดยทั่วไปมักจะควบคุมให้บรรยากาศในห้องเก็บมีออกซิเจน 2-3 เปอร์เซ็นต์ คาร์บอนไดออกไซด์ 1-8 เปอร์เซ็นต์ และใช้อุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามการเก็บรักษาด้วยวิธีนี้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผลไม้บางชนิดบางพันธุ์ ดังนั้นการศึกษาอย่างละเอียดก่อนใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
การเก็บรักษาโดยการแปลงบรรยากาศรอบๆ ผลไม้ (Modified Atmosphere Storage)
เป็นการเก็บผลไม้ในถุงพลาสติกชนิดพิเศษ ซึ่งยอมให้ก๊าชและไอน้ำผ่านได้เป็นบางส่วน มีผลทำให้บรรยากาศในถุงพลาสติกที่มีผลไม้อยู่ฤดูดัดแปลงไป เมื่อผลไม้หายใจ ปริมาณออกซิเจนในถุงพลาสติกจะลดลง ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงขึ้นทำให้การหายใจลดลง ผลไม้จะมีอายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น การเก็บรักษาโดยลดความดันของบรรยากาศ (Hypobaric Storage)
ในสภาพความดันต่ำ ผลไม้จะมีอายุยืนยาวนานขึ้น และชะลอการสุกของผลไม้ ใช้ได้ผลดีกับผลไม้เขตร้อนและเขตกึ่งร้อน โดยไม่ต้องใช้อุณหภูมิต่ำมากนัก เพื่อช่วยในการเก็บรักษาเช่น การเก็บรักษาผลอะโวกาโดด้วยวิธีนี้จะเก็บได้นาน 3.5 เดือน โดยที่ผลไม่สุกเพราะมีการหายใจต่ำ

เทคโนโลยีการจักการโรคและแมลง

เทคโนโลยีการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
การศึกษาการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชไม้ผล มีทำกันมากในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ส่วน ในประเทศไทยยังมีการศึกษากันน้อยเกษตรกรโดยทั่วไปแทบไม่มีความรู้ด้านนี้ ยกเว้นในสับปะรดใช้กันมานานแล้ว ส่วนเกษตรกรชาวสวนผลไม้บางอย่างเช่น มะม่วงและทุเรียน ก็เริ่มรู้จักและใช้มากขึ้นโดยเฉพาะในด้านการควบคุมการออกดอก แต่ก็มีเกษตรกรจำนวนมากยังไม่เข้าใจในการใช้งาน บางครั้งก็เกิดความเสียหายหรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
ฮอร์โมนพืช (Plant Hormone) หมายถึง สารที่สร้าง ขึ้นในพืช มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต กระตุ้นหรือยับยั้งขบวนการทางสรีระวิทยา สามารถเคลื่อนย้ายไปมีผลต่อเนื้อเยื่อต่างๆ หรือมีผลต่อบริเวณที่สร้างก็ได้ ทั้งนี้จะต้องเป็นสารที่ทำงานได้ที่ความเข้มข้นต่ำและไม่ใช่สารอาหารพืช ส่วนความหมายของคำว่าสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (สคพ. PRG, Plant Growth Regulator) นั้นหมายความรวมถึงฮอร์โมนพืชและสารที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืช
สารหลายชนิดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช หรือแม้กระทั่งการออกดอก แต่สารเหล่านี้อาจไม่ใช่ PGR เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงควรทราบดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นสารอินทรีย์ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคาร์บอนด์ (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) เป็นหลัก มีสารหลายชนิดที่สามารถกระตุ้นหรือเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้ เช่น ปุ๋ยชนิดต่างๆ หรือแม้แต่โปแตสเซียมไนเตรท (KNO3) ซึ่งใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงแต่สารเหล่านี้ไม่จัดเป็น PGR เนื่องจากไม่ใช่สารอินทรีย์
2. ใช้หรือมีในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นก็สามารถแสดงผลต่อพืชได้ ส่วนใหญ่แล้วที่ใช้กันอยู่ทั่วไปจะใช้ความเข้มข้นต่ำมากๆ เช่น 1 มก/ล ก็สามารถมีผลต่อพืชได้ บางครั้งอาจใช้ถึง 5,000 มก/ล ซึ่งก็ยังถือว่าความเข้มข้นที่ใช้อยู่กับชนิดของสารและจุดประสงค์ที่ต้องการ
3.ไม่ใช่อาหารหรือธาตุอาหารของพืช สารพวกน้ำตาล กรดอะมิโน และไขมัน ถึงแม้ว่าจะเป็นสารอินทรีย์ และมีผลต่อการเติบโตของพืชแต่ก็ไม่จัดว่าเป็น PGR เนื่องจากสารเหล่านี้เป็นหมายเหตุ: บทที่ 3. 4 นี้รวบรวม และเรียบเรียงใหม่ จาก ธนัท ธัญญาภา (2537) สุเมษ เกตุวราภรณ์ (2537) และ บทเลคเชอร์ ของ ประสิทธิ์ วัฒนวงค์วิจิตร(2542)
1. ออกซิน (auxins) สารในกลุ่มนี้มีทั้งที่พืชสร้างขึ้นเอง (ฮอร์โมน) และสารสังเคราะห์มีอาหารของพืชโดยตรง ธาตุอาหารต่างๆ เช่น ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) เป็นวัตถุดิบในการสร้างอาหารและไม่จัดเป็นสารอินทรีย์ จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเป็น PGRC เช่นกัน PGR เป็นสารกลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยสารชนิดต่างๆ มากมาย ซึ่งสามารถแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามคุณสมบัติซึ่งแตกต่างกันได้ดังนี้หน้าที่ควบคุมการขยายตัวของเซลล์ การเจริญเติบโตของใบ การติดผล การเกิดราก และเกี่ยวข้องกับกระบวนการอื่นๆ อีกมากมาย สารออกซินที่ใช้ในในการเกษตรส่วนใหญ่ เป็นสารสังเคราะห์โดยใช้ประโยชน์ในการเร่งรากของกิ่งตอนหรือกิ่งปักซำ ช่วยเปลี่ยนเพศดอกของพืชบางชนิด ช่วยติดผล ป้องกันผลร่วง หรือขยายขนาดผล ออกซินบางชนิดใช้กันมากเพื่อกำจัดวัชพืช สรุปโดยย่อออกซินมีประโยชน์ดังนี้
1.1 ช่วยในการออกรากของกิ่งตอนและกิ่งตัดชำของไม้ผลหลายชนิด
-ใช้ IBA 20-200 ส่วนต่อล้าน (สตล.) แซ่โคนกิ่งนานประมาณ 6-12 ชั่วโมง
- ใช้ IBA 500-5,000 สตล. จุ่มโคนกิ่ง 2-3 นาที
1.2 ช่วยลดปัญหาผลร่วงก่อนเก็บเกี่ยว
- สาลี่ ใช้ NAA 10 สตล. พ่นทั่วต้น 3สัปดาห์ก่อนการเก็บเกี่ยว
- แอปเปิ้ลใช้ NAA 20 สตล. พ่นทั่วต้น 3-4 สัปดาก่อนการเก็บเกี่ยว
1.3 ใช้ปลิดผลทิ้งเมื่อมีการติดผลมากเกินไป
- สาลี่ใช้ NAA 10-15 สตล. พ่นทั่วต้น 15-21 วัน หลังจากดอกบานเต็มต้น
- แอปเปิล ใช้ NAA 20 สตล. พ่นทั่วต้น 15-25 วัน หลังจากดอกบานเต็มต้น
1.4 ยากำจัดวัชชพืชใบเลี้ยงคู่ ใช้ 2,4 - D 2,000-6,000 สตล. พ่นให้ทั่วต้นวัชพืชและ พ่นซ้ำหลังจากครั้งแรก 15-30 วัน เมื่อวัชพืชยังไม่ตาย
2. จิบเบอเรลลิน (gibberelllins) สารกลุ่มนี้พืชสร้างขึ้นได้เอง และยังมีเชื้อราบางชนิดสร้างสารนี้ได้ จึงมีการเลี้ยงเชื้อราเหล่านี้เพื่อนำมาสกัดสารจิบเบอเรลลินออกมาใช้ประโยชน์ ปัจจุบันยังไม่สามารถสังเคราะห์สารนี้ได้ในห้องปฏิบัติการ จึงทำให้สารชนิดนี้มีราคาสูง จิบเบอเรลลินมีหน้าที่ควบคุมการยืดตัวของเซลล์ การติดผล การเกิดดอก เร่งการเจริญเติบโตของต้นพืช ชาวสวนองุ่นใช้ประโยชน์จากจิบเบอรเรลลินกันมาก โดยใช้ในการยืดช่อผล และปรับปรุงคุณภาพผล เป็นต้น ในด้านปฏิบัติจิบเบอเรลลินใช้เป็นประโยชน์พอสรุปได้ดังนี้
2.1 ชลอการแก่ของผลเชอรี่ ใช้จิบเบอเรลิกแอชิค (GA3 ) 5-10 สตล. พ่นทั่วต้น 3 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว
2.2 ช่วยทำให้ผลแอปเปิ้ลมีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้ GA3 5-25 สตล. พ่นทั่วต้นหลังจากกลีบดอกร่วง
2.3 ช่วยให้ช่อผลขององุ่นยาวขึ้น ทำให้ผลไม่เบียดกันแน่นเกินไป ใช้ GA3 20-40 สตล. จุ่มช่อผลหลังจากติดผล
2.4 ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดไม้ผลหลายชนิด ใช้ GA3 5-100 สตล. แช่เมล็ด 24 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะ
3. ไซโตไคนิน (cytokinin) มีหน้าที่ควบคุมการแบ่งเซลล์ การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบ การแตกแขนง สารกลุ่มนี้ใช้ประโยชน์ทางพืชสวนน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช แต่ปัจจุบันเริ่มนำมาใช้เร่งการแตกตาข้างของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขยายพันธุ์พืชโดยการติดตา สรุปแล้ว ไซโตไคนินใช้ประโยชน์โดย
3.1 ช่วยเพิ่มการแตกกิ่งของกิ่งพันธุ์ที่จะนำไปปลูกในไม้ผลหลายชนิด ใช้ไคเนติน (Kinetin) 100-200 สตล. พ่นทั่วต้นเมื่อกิ่งพันธุ์อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโต
3.2 ช่วยทำให้ผลแอปเปิ้ลยาวขึ้น ใช้ BA 25 สตล. พ่นทั่วต้นตั้งแต่ดอกบานจนถึง 10 วัน หลังจากดอกบาน
3.3 ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดไม้ผลหลายชนิดใช้ไคเนติน 100-500 สตล. แช่เมล็ด 24 ชั่วโมง ก่อนนำไปเพาะ
4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทีลีน (ethylene and ethylene releasing compounds) สารเอทีลีนเป็นก๊าช ซึ่งพบได้ทั่วๆ ไป แม้กระทั่งในควันไฟก็มีเอทีลีนเป็นองค์ประกอบ พืชสามารถสร้างเอทีลีนได้เอง จึงจัดเป็นฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่ง เอทีลีนมีหน้าที่คบคุมการออกดอก การแก่และการสุกของผล และเกี่ยวข้องกับการหลุดล่วงของใบ ดอก ผล อาจกล่าวรวมๆ ได้ว่า เอทีลีนมีหน้าที่กระตุ้นให้พืชแก่ตัวเร็วขึ้น การใช้ประโยชน์จากเอทีลีนในแปลงปลูกกระทำได้ยากเนื่องจากเอทีลีนเป็นก๊าช ดังนั้นจึงมีการสังเคราะห์สารต่างๆ ให้อยู่ในรูปของแข็งหรือของเหลวที่สามารถปล่อยก๊าชเอทีลีนออกมาได้ ซึ่งปัจจุบันได้นำมาใช้ประโยชน์ในการเร่งดอกสับปะรด เร่งการแก่ของผลไม้บนต้น เร่งการไหลของน้ำยางพารา ในด้านปฏิบัติ เอทีลีนถูกนำมาใช้โดย
4.1 ช่วยเพิ่มการออกดอกในไม้ผลหลายชนิด ใช้เอทธีฟอน (Ethephon) 100-1,000 สตล. พ่นทั่วต้นก่อนการเกิดตาดอกประมาณ 40-50 วัน
4.2 ช่วยในการปลิดผลทิ้งเมื่อติดผลมากเกินไป ในไม้ผลหลายชนิดใช้เอทธีฟอน 20-200 สตล. พ่นทั่วต้น 4-8 สัปดาห์ หลังจากดอกบาน
4.3 ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดไม้ผลหลายชนิด ใช้เอทธีฟอน 100-500 สตล. แซ่เมล็ด 24 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะ
5. สารชะลอการเจริญเติบโต (plant growth retardants) สารกลุ่มนี้ไม่พบตามธรรมซาติในพืช เป็นกลุ่มของสารซึ่งสังเคราะห์ขึ้นมาทั้งหมด คุณสมบัติหลักของสารกลุ่มนี้คือยับยั้งการสร้างกรือการทำงานของจิบเบอรเรลลิน ดังนั้นลักษณะของพืชที่ได้รับสารเหล่านี้จึงมักแสดงออกในทางที่ตรงกันข้ามกับผลของจิบเบอเรลลิน ประโยชน์ของสารชะลอการเจริญเติบโตมีหลายอย่าง เช่น ลดความสูงของต้น ทำให้ปล้องสั้นลง ช่วยในการออกดอกและติดผลของพืชบางชนิด โดยทั่วไปสารชะลอการเจริญเติบโตถูกนำไปใช้ด้านปฏิบัติคือ
5.1 ช่วยเพิ่มการออกดอกของสาลี่และแอปเปิ้ลใช้ SADH 500-1,000 สตล.พ่นทั่วต้น 30-40 วัน หลังจากดอกบาน
5.2 ช่วยเพิ่มการติดผลขององุ่นใช้ SADH 2,000 สตล. พ่นทั่วต้นเมื่อดอกเริ่มบาน
5.3 ช่วยลดการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบเพิ่มการออกดอกของแอปเปิ้ล ใช้ PP 333 0.2 กรัม/ตารางเมตร หรือ 1,000 สตล. พ่นทั่วต้น 3 สัปดาห์ หลังจากติดผล
6. สารยับยั้งการเจริญเติบโต (plant growth inhibitors) สารกลุ่มนี้พืชสร้างขึ้นมาเพื่อถ่วงดุล กับสารเร่งการเจริญเติบโตต่างๆ ไม่ให้พืชเติบโตมากเกินไป สารกลุ่มนี้ยังควบคุมการพักตัว การหลุดร่วงของใบ ดอก ผล หรือแม้กระทั่งควบคุมการออกดอกของพืช ปัจจุบันมีการใช้สารสังเคราะห์ที่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร เช่น ทำให้พืชแตกกิ่งแขนงมากขึ้น ยับยั้งการเกิดหน่อยาสูบ เร่งการออกดอกของพืชบางชนิด
7. สารอื่นๆ เป็นสารที่ไม่อาจจัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งข้างต้นได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป เช่น สารเร่งการเจริญเติบโตทั่วๆ ไป สารทำให้ใบร่วง สารเพิ่มผลผลิต สารในกลุ่มนี้มีผลต่อพืชค่อนข้างจำกัด และมักใช้เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
จากการที่สารดังกล่าวมีคุณสมบัติแตกต่างกันนี้เอง ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางในหลายแง่มุมที่ต้องการ แต่ผู้ใช้สารควรมีความรู้เกี่ยวกับสารนั้นๆ พอสมควร เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยรู่เท่าไม่ถึงการณ์ การใช้สารเหล่านี้มีข้อจำกัดที่ต้องคำนึงถึงมากพอสมควร มีหลายครั้งที่พบว่าการใช้ชนิดเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน แต่ต่างสถานที่ทำให้ผลที่ได้รับแตกต่างกัน จากกรณีนี้จะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมมีผลอย่างมาก แต่ไม่ใช่เฉพาะสภาพแวดล้อมเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่มีผลต่อการใช้สาร ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่เกี่ยวข้อง จึงขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
ชนิดของพืช พืชแต่ละชนิดมีระบบกลไกลปลีกย่อยแตกต่างกันไป การใช้สาร PGRC เป็นทำให้กลไกลภายในเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นพืชชนิดหนึ่งอาจตอบสนองต่อการใช้สารได้ดี ถ้า PGRC สามารถเข้าไปควบคุมกลไกลนั้นๆ ในขณะที่สารชนิดเดียวกันนี้อาจใช้ไม่ได้ผลกับพืชอีกชนิดหนึ่ง หรือแม้กระทั่งพืชนิดเดียวกันแตกต่างกันเพียงแค่พันธุ์ ก็อาจตอบสนองได้ไม่เหมือนกัน เช่น จากการทดลองใช้สาร daminozide กับผักกาดขาวปลี 2 พันธุ์ ซึ่งปลูกในฤดูร้อนคือพันธุ์ B40 ซึ่งเป็นพันธุ์ไม่ทนร้อน และพันธุ์ hybrid # 58 ซึ่งเป็นพันธุ์ทนร้อน พบว่าพันธุ์ B40 ตอบสนองได้ดี มีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากในขณะที่พันธุ์ hybrid #58 ไม่ตอบสนองใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่ให้สารโดยวิธีเดียวกันและพร้อมๆ กัน หรืออย่างเช่นการใช้สาร ethephon สามารถเร่งการออกดอกของสับปะรดได้ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอว่าสารดังกล่าวจะสามารถเร่งการออกดอกของไม้ผลชนิดอื่นได้ ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ PGRC กับพืชชนิดหนึ่งอาจใช่เป็นเพียงแนวทางในการทดลองกับพืชชนิดอื่นเท่านั้น โดยที่ผลที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่คาดหวังไว้
ชนิดของสาร สารแต่ละชนิดมีความจำเพาะเจาะจงต่อพืชไม่เหมือนกันบางชนิดใช้ได้ผลดีกับพืชมากชนิดกว่าเช่น การทดลองใช้สาร ancymdol และ daminozide กับพืช 88 ชนิด พบว่ามีพืชถึง 68 ชนิดที่ตอบสนองต่อการใช้สาร ancymidol แต่มีเพียง 44 ชนิด เท่านั้นที่ตอบสนองต่อการใช้สาร daminozide ถึงแม้สารทั้ง 2 ชนิดนี้ จัดอยู่ในกลุ่มสารชะลอการเจริญเติบโตเหมือนกันก็ตาม
สภาพแวดล้อม มีผลต่อการดูดซึมสาร การสลายตัว และการแสดงผลของสารต่อพืช โดยปกติแล้ว ในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นในอากาศสูง จะทำให้การดูดซึมสารเป็นไปได้ดี และพืชจะตอบสนองต่อสารได้มากขึ้น การใช้สารบางชนิดอาจต้องลดความเข้มข้นลงจากปกติเมื่อ ใช้สารในขณะที่มีอากาศร้อนจัด เนื่องจากว่าถ้าให้โดยความเข้มข้นปกติอาจก่อให้เกิดพิษขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่นการใช้สาร ethephon
ความสมบูรณ์ของต้นพืช ต้นพืชที่มีความสมบูรณ์สูงย่อมตอบสนองต่อ PGR ได้ดีกว่าพืชที่อ่อนแอ PGR ไม่ได้จัดว่าเป็นปุ๋ยหรืออาหารของพืช ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้เพื่อฟื้นฟูสภาพของต้นไม้ที่โทรมหรืออ่อนแอ ให้กลับแข็งแรงขึ้นมาได้ การ PGR ให้ได้ผลดีจึงควรใช้กับต้นที่มีความสมบูรณ์ และอยู่ในสภาพพร้อมที่จะตอบสนองต่อสาร เช่น มีอายุมากพอหรือมีอายุที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่นการใช้ ethephon เร่งการออกดอกขอสับปะรด จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อมีต้นอายุไม่ต่ำกว่า 4 เดือน หรือมีน้ำหนักสดไม่ต่ำกว่า 878 กรัม แต่ใช้สารเมื่อต้นมีอายุ 2 เดือน ซึ่งมีน้ำหนักสดเพียง 514 กรัม ปรากฏว่าไม่สามารถเร่งการออกดอกได้
ช่วงอายุของพืชหรือช่วงเวลาของการใช้สาร เรื่องนี้มีความสำคัญมาก และเป็นเรื่องยากที่จำกำหนดแน่นอนลงไปว่า เมื่อใดควรให้สารงานทดลองหลายเรื่องประสบความล้มเหลวเนื่องจากให้สารในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีผลทำให้พืชตอบสนองไปในทางที่ไม่ต้องการ เช่น การทดลองใช้ daminozide กับแรดิชเมื่อต้นกล้ามีอายุต่างๆ กัน ตั้งแต่ 8 ถึง 20 วัน พบว่า การให้สารดังกล่าวเมื่อต้นกล้ามีอายุ 16 วัน จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้มาก ในขณะที่การใช้สารเมื่ออายุน้อยหรือมากกว่านี้กลับมีผลทำให้ผลผลิตลดลงกว่าปกติ อาจกล่าวได้ว่าถ้างานทดลองครั้งนี้ทำขึ้นโดยไม่คำนึงถึงช่วงอายุเป็นสำคัญ ผลที่ได้รับอาจสรุปออกมาได้ว่าการใช้สารทำให้ผลผลิตลดลง ถ้าบังเอิญการให้สารนั้นอยู่ในช่วงที่เหมาะสมดังกล่าวมาแล้ว
วิธีการให้สาร การให้สารแก่พืช ทำได้หลายวิธี เช่นการพ่น ทา จุ่ม หรือ แซ่ การที่จะใช้วิธีใดนั้นต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ที่ต้องการ ชนิดของสาร และความเข้มข้นของสารเป็นสำคัญ เหตุที่ต้องคำนึงถึงวิธีการให้สาร เนื่องจากสารแต่ละชนิดมีการดูดซึมและเคลื่อนย้ายภายในต้นต่างกัน PGRC จะแสดงผลต่อพืชได้ก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนที่จากจุดที่ให้สารไปยังจุดที่จะแสดงผล ยกตัวอย่างเช่น สาร paclobutrazol เคลื่อนที่ได้ดีในท่อน้ำของพืชแต่ไม่เคลื่อนที่ในท่ออาหาร ดังนั้นวิธีการใช้สารที่เหมาะสมคือการรดลงดินให้รากพืชดูดขึ้นไปพร้อมกับธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อขึ้นไปสู่ส่วนบนของลำต้น
ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่อาจใช้อธิบายได้ว่าเหตุใดการใช้ PGR จึงยุ่งยากกว่าการใช้สารเคมีชนิดอื่นๆ และผลจากการใช้ PGR ก็ไม่คงที่แน่นอนเหมือนกันทุกครั้ง ดังนั้นการจะใช้ PGR ให้ได้ผลแน่นนอนจึงจำเป็นต้องอาศัยเวลาเพื่อศึกษาผลของสารและปัจจัยที่เกี่ยวข้องจนกระทั่งได้ข้อสรุปหรือคำแนะนำที่เหมาะสม PGR มีนับร้อยชนิด แต่ที่สามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น และที่เหลือก็ยังอยู่ในขั้นทดลองหาความเหมาะสมดังที่กล่าวมา PGR ที่ใช้ในโลกปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้กับสารเคมีการเกษตรอื่นๆ เช่นยาฆ่าแมลง หรือยากำจัดวัชพืชแล้วพบว่ามีสัดส่วนน้อยมากทั้งนี้อาจเป็นเพราะสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น และอีกประการหนึ่งคือ ปริมาณการใช้ PGR แต่ละครั้งน้อยมาก เนื่องจากการใช้ได้ผลที่ความเข้มข้นต่ำ ๆ ก็แสดงผลต่อพืชได้ ในบรรดา PGR ที่ใช้ในโลกมากที่สุด 6 อันดับแรก คือ chlormequat, daminozide, gibberellin, ethephon, maleic hydrazide และ gyphosine สารเหล่านี้ใช้กันมากกับพืชสวน ยกเว้น gyphosine ใช้มากกับพืชไร่

การเตรียมและวิธีใช้ฮอร์โมน
ฮอร์โมนที่ใช้ในการเกษตรโดยทั่วไปนั้นมีอยู่ 4 รูปแบบ คือ แบบน้ำ (aqueous solution ) แบบแป้งเปียก (paste) แบบผล (dust) และแบบไอระเหย (aerosol)
1. แบบน้ำ เป็นฮอร์โมนที่ใช้ในรูปสารละลาย นิยมใช้กันมาก อาจเป็นกรด เกลืออะมัน อะมีดหรือเอสเทอร์ พวกเกลือมักจะละลายน้ำได้ดีกว่ากรด จึงเหมาะในการเตรียมฮอร์โมนที่มีความเข้มข้นสูง ๆ ความเป็นกรดเป็นด่าง pH ของสารละลายจะมีความสำคัญต่อการดูดซึม และการทำงานของสารเคมีในเซลล์พืช pH ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 3-5.5
ในการทำยาฮอร์โมนแบบใช้น้ำผสมนั้น ถ้าใช้สารฮอร์โมนที่เป็นผลึกละลายน้ำโดยตรงทีเดียวจะละลายยากควรละลายใน cosolvent เช่น เอธิแอลกอฮอล์ 95% ให้ดีเสียก่อนแล้วจึงเติมน้ำลงไปทีหลังให้ได้ปริมาตรที่ต้องการ ถ้าเป็นฮอร์โมนชนิดละลายจากก็อาจใช้แอมโมเนียมไฮดร็อกไซด์แทนแอลกอฮอล์ แล้งจึงค่อยทำน้ำยาให้เป็นกรดอ่อนๆ โดยเติมกรดลงไปอีกทีหนึ่ง ในการเตรียมน้ำยาที่มีความเข้มข้นสูงๆ หรือเตรียม stock solution ควรใช้แอลกอฮอล์ล้วนๆ แทนน้ำ เพราะแอลกอฮอล์ละลายได้ดีกว่าน้ำมาก สำหรับฮอร์โมนที่ใช้พ่นกับต้นพืชควรเติมสารพวก spreader หรือ carrier ลงไปด้วยเพื่อให้เป็นตัวช่วยให้สารเกาะจับกันส่วนของพืชได้ดีอันจะทำให้การซึมและการออกฤทธิ์ของตัวยาดีขึ้น

2. แบบแป้งเปียก การเตรียมแบบนี้ทำได้โดยการผสมฮอร์โมนกับสารที่มีลักษณะคล้ายแป้งเปียก เช่น น้ำมันขนแกะ (lanolin) โดยละลายไขขนแกะใน water bath เอาผลึกฮอร์โมนละลายในแอลกอฮอล์หรืออีเทอร์ให้ดีเสียก่อน แล้วเอามาเทลงไปในน้ำมันขนแกะที่ละลายเป็นของเหลวนี้ คนให้เข้ากันอย่างทั่วถึงแล้วทำให้เย็น น้ำมันขนแกะจะคืนสภาพเป็นครีมเหนียวๆ อย่างเดิม แล้วนำไปใช้ได้เลย
3. แบบผง แบบนี้ทำได้โดยละลายผลึกฮอร์โมนในแอลกอฮอล์ หรืออิเทอร์เสียก่อนแล้วเทลงคลุกเคล้ากับแป้ง (talc) คนให้เข้กันดีแล้วจึงนำไปทำให้แห้งอีกทีหนึ่ง ก็จะได้ผลที่มีฮอร์โมนผสมอยู่
4. แบบไอระเหย ทำได้โดยผสมฮอร์โมนกับสารเคมีที่มีสมบัติในการระเหยที่ดี อัดใส่ในภาชนะด้วยความดัน เมื่อเปิดภาชนะไอของยาก็จะระเหยออกมา เหมาะสำหรับใช้ในที่มิดชิด เช่น ห้องเก็บพืชผลหรือในโรงกระจก
การคำนวณความเข้มข้นของฮอร์โมนจากฮอร์โมนที่มีความเข้มข้นสูงๆ หรือสารละลายหลัก (stock solution) อาจใช้สูตร
N1V1 = N2V2
เมื่อ N1 และ V2 เป็นความเข้มข้นและปริมาตรของ stock solution
N1 และ V2 เป็นความเข้มข้นและปริมาตรของฮอร์โมนที่เราต้องการ
สมมุติว่าถ้าเราต้องการเตรียมฮอร์โมนความเข้มข้น 100 ppm. สัก 200 ซีซี จาก stock solution ที่เข้มข้น 10,000 ppm. ทำได้ดังนี้
N1V1 = N2V2
10,000 x V1 = 100 x 200
V1 = 100 x 200
10,000
= 2 ซีซี
เราก็ตวงเอา stock solution มาเป็น 2 ซีซี แล้วเติมน้ำหรือแอลกอฮอล์ 85 % ลงไปจนครบ 200 ซีซี เราก็จะได้สารละลายที่มีความเข้มข้น 100 ppm. จำนวน 200 ซีซี ที่ต้องการ สำหรับการเตรียมฮอร์โมนก็อาจทำได้เช่นเดียวกัน
วิธีการใช้ฮอร์โมนก็อาจทำได้หลายอย่างด้วยกัน แล้วแต่ความเหมาะสมในการปฏิบัติหรือการทดลองนั้นๆ โดยทั่วไปอาจแบ่งออกได้เป็น 6 วิธีด้วยกันคือ
1. พ่นเป็นน้ำ (spray)
2. จุ่มส่วนต่างๆ ของพืชในน้ำยาหรือผงฮอร์โมน หรือใช้น้ำยาหรือผงฮอร์โมนทาส่วนต่างๆ ของพืช
3. ใช้น้ำมันขนแกะ (lanolin) ผสมฮอร์โมนทาส่วนต่างๆ ของพืช
4. ฮอร์โมนแบบไอระเหย (aerosol)
5. บังคับให้น้ำยาฮอร์โมนซึมซาบเข้าไปในส่วนต่างๆ ของพืชโดยใช้ความดัน
6. ฉีดน้ำยาฮอร์โมนเข้าไปในส่วนต่างๆ ของพืช
ในการใช้ฮอร์โมนกับกิ่งปักชำ (cutting) นั้นควรทำให้บริเวณส่วนล่างของกิ่งปักชำมีแผลเพิ่มขึ้นจากรอยตัด จะทำให้ฮอร์โมนซึมเข้าสู่พืชมากขึ้น การใช้การพ่นอย่างในวิธีที่ 1 นั้นมีข้อเสียอยู่ตรงที่ว่าเราไม่สามารถหรือควบคุมจำนวนน้ำหรือสารให้ซึมเข้าสู่ส่วนของพืชได้ฉะนั้นจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการซึมของฮอร์โมนเอง วิธีที่ 3 เป็นวิธีที่ควรใช้ได้ดีเมื่อต้องการใช้ยาเฉพาะแห่ง โดยที่สามารถป้ายตรงจุดใดจุดหนึ่งได้แน่นอน และฮอร์โมนจะติดอยู่กับพืชนานและทำให้ซึมซาบได้มาก วิธีที่ 4 เหมาะสำหรับใช้ในที่ปิดมิดชิดเช่นดรงกระจกหรือภาชนะที่มีฝาปิดอื่นๆ ส่วนวิธีที่ 5 และ 6 เหมาะสำหรับการทดลองที่ต้องการทราบรายละเอียดเพราะสามารถทราบจำนวนฮอร์โมนที่เข้าไปในต้นพืชได้แน่นนอน
ฮอร์โมนที่มีความเข้มข้นต่ำ ๆ ปกติจะเสื่อมคุณภาพเร็ว โดยเฉพาะที่ใช้น้ำธรรมดาเป็นตัวทำลายจะเสื่อมเร็วกว่าพวกที่ใช้แอลกอฮอล์ ฮอร์โมนที่เป็นเกล็ดหรือผลึกจะคงคุณภาพได้นานที่สุด IAA รูปน้ำจะยิ่งเสียเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อจะใช้ IAA แบบน้ำจึงควรผสมแล้วใช้ทันที
หน่วยความเข้มข้นของฮอร์โมน
ความเข้มเข้นของฮอร์โมนมีหน่วยที่ใช้วัดหลายอย่างด้วยกัน อาจเลือกวิธีไหนก็ได้ที่เห็นว่าสะดวก หน่วยต่างๆ มีดังนี้
1. ส่วนต่อล้าน (part per million) เขียนย่อว่า ppm. หมายถึงจำนวนสารฮอร์โมนบริสุทธิ์เป็นกรัมในฮอร์โมนผสม 1 ล้านกรัม เช่น NAA 10 ppm. หมายถึงฮอร์โมนผสมที่มี NAA แท้อยู่ 10 กรัมในทุกๆ 1 ล้านกรัม หรือ 1 ล้าน ซีซี ของฮอร์โมนผสม
2. เปอร์เซ็นต์ (percentage) หมายถึงสารฮอร์โมนหนักเป็นกรัมในฮอร์โมนผสม 100 กรัม เช่น 2,4 – D 5% จะมี 2,4 – D แท้ ๆอยู่ 5 กรัมในทุกๆ 100 กรัมของฮอร์โมนชนิดนี้ถ้าเป็นน้ำยาหรือสารละลายจะถือเอาน้ำหนัก 1 กรัม ของตัวละลาย (solute) เทียบเท่ากับ 1 ซีซี ดังนั้น 2,4 – D บริสุทธิ์อยู่ 5 กรัมทุกๆ 100 ซีซีของฮอร์โมนผสมนี้
3. กรัมหรือมิลลิกรัมต่อหน่วยปริมาตร คือเป็นจำนวนสารฮอร์โมนเป็นกรัมหรือมิลลิกรัมในน้ำยาที่ผสมแล้วปริมาตร (volume) หนึ่งเช่น 5 กรัมต่อลิตร (5 gm/1) หมายถึงน้ำยาผสมแล้ว 1 ลิตรมีสารฮอร์โมนบริสุทธิ์ละลายอยู่หนัก 5 กรัมหรือ 0.5 มิลลิกรัมต่อ 1 ซีซี (0.5 mg/cc)
4. โมลาร์ (molarity) ใช้อักษรย่อว่า “M” สารละลายฮอร์โมนที่มีความเข้มข้น 1 โมลาร์หมายความว่าทุก ๆ 1 ลิตร ของสารละลายนี้มีฮอร์โมนบริสุทธิ์ละลายอยู่ 1 กรัม-โมล (gram-mole)

การจัดการวัชพืชในสวนไม้ผล
ความสำคัญของวัชพืช
วัชพืช (weeds) นับเป็นศัตรูพืชที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง ที่มักทำความเสียหายให้กับสวนไม้ผล หาก ปล่อยให้งอกงามแพร่กระจายออกไปโดยไม่ได้อยู่ในการควบคุม

โทษ(harm aspects) วัชพืชที่ไม่อยู่ในการควบคุมอาจสร้างความเสียหายให้กับสวนไม้ผลได้หลายวิธี ที่สำคัญได้แก่
1.เป็นอุปสรรคต่อการเข้าไปดูแลจัดการสวนหรือการเก็บเกี่ยวผลผลิต สวนที่ขาดการดูแล อย่างสม่ำเสมอ วัชพืชจะเข้าปกคลุมพื้นดินและแม้แต่ต้นไม้ (เช่น ไมยราบเลื้อย)จะขีดขวาง ทิ่มแทง(เช่นหญ้าบุ้งดอกฝอย) ทำให้เกิดบาดแผล คัน จากขน หนาม หรือขอบใบ และเป็นที่หลบช่อนอาศัยของแมลงและสัตว์มีพิษ
2.เป็นที่หลบซ่อนหรือพักอาศัยของโรค แมลง หรือสัตรูของไม้ผลทำให้ยากต่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้น
3.แก่งแย่งน้ำธาตุอาหาร แสง และพื้นที่ไปจากพืชปลูก ซึ่งเป็นวิธีการทำความเสียหายโดย ตรงจากวัชพืชกับพืชที่ปลูกใหม่แคระแกรน ไม้สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ หรือถ้าเป็นต้นที่โตแล้ว ก็ทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง
4.เป็นสาเหตุของไฟไหม้สวนในฤดูแล้ง ไม้ผลที่ปลูกในเขตอาศัยน้ำฝน เช่น ที่ดอนของภาคเหนือตอนบน วัชพืชจะแห้งตายเมื่อถึงปลายฤดูแล้งเดือนเมษายน และกลายเป็นเชื้อเพลิงทีมักทำให้สวนผลไม้เกิดความเสียหายในวงกว้างและอย่างรุนแรงทุกปี
5.การควบคุมวัชพืชเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญของสวน ที่เกษตรกรหรือเจ้าของสวนต้องจัดเตรียมงบประมาณไว้ในแต่ละปี มากน้อยไปตามขนาดของสวน และระดับความรุนแรงของวัชพืช








รูปที่ 2.1 วัชพืชที่เริ่มงอก

วัชพืชที่สำคัญ
วัชพืชเป็นพืชที่ขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้น ชนิด (species) การแพร่กระจาย (distribution) และความหนาแน่น (intensity density) จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพสิ่งแวดล้อม ปัจจัยธรรมชาติที่สำคัญประการหนึ่งก็คือปริมาณและความเข้มของแสง ซึ่งเป็นผลจากร่มเงาพุ่มต้นของไม้ผล ที่แผ่ขยายกว้างออกตามการเจริญเติบโตของต้น ทำให้วัชพืชที่พบในสวนเก่าจึงอาจแตกต่างกับในสวนใหม่ นอกจากนั้นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้วัชพืชเกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น (weed shifts) ได้ชัดเจนก็คือการใช้สารฆ่าวัชพืช (herbicides) ชนิดเดิมต่อเนื่องกันหลายปี

วัชพืชในสวนใหม่
วัชพืชที่พบในสวนไม้ผลใหม่ 1-5 ปีแรกหลังปลูกโดยประมาณ (ขณะมีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวยังห่างกัน) นับว่ามีความหลากหลายและรุนแรงยิ่ง อาจพบได้จนถึง 70 ชนิด (ธวัชชัยและแม๊กซ์เวล,2540) เพราะธรรมชาติของวัชพืชเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการมานาน สามารถปรับตัวได้แม้ภายใต้ภาวะเครียดหรือแรงกดดันจากธรรมชาติ และปฏิบัติการรบกวนจากมนุษย์ได้เป็นอย่างดี พร้อมที่จะบุรุกเข้าครอบรองพื้นที่อย่างรวดเร็ว วัชพืชกลุ่มที่เจริญงอกงามได้เป็นอย่างดีในสวนใหม่ มักเป็นวัชพืชดั้งเดิมในพื้นที่ และเก็บตัวอยู่ในดินที่เรียกว่า เป็น seed bank ที่ใกล้ผิวดินก็ยิ่งจะมีมาก หน่วยขยายพันธุ์ (ropaqules) ที่ฝังตัวช่อนอยู่อาจเป็นเมล็ด (seeds) หรือลำต้นใต้ดิน ๅ (modified stems) การเตรียมดิน การปลูก และการบำรุงรักษาสวนใหม่ด้วยการเขตกรรม (tillage) จะพลิกฟื้นหน่วยขยายพันธ์ที่ถูกกลบผังไว้ขึ้นมา วัชพืชที่แพร่กระจายพันธ์โดยอาศัยเมล็ดซึ่งมักหมายถึง วัชพืชปีเดียว (annual weeds) มักจะเป็นกลุ่มที่สำคัญ (predominant species) เนื่องจากมีประชากรของเมล็ดในดินสูง เชน สาบแร้งสาบกา สวนที่ไม่มีการไถพรวนหรือมีการไถพรวนน้อย วัชพืชหลายปี ( perennial weeds) เช่นหญ้าคา จะค่อยๆ กลายมาเป็นกลุ่มที่สำคัญ ในสวนใหม่วัชพืชกลุ่มที่มีการสังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเจริญงอกงามได้เร็วกว่ากลุ่มที่ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงต่ำ เพราะปัจจัยแสงยังไม่เป็นข้อจำกัด
วัชพืชในสวนเก่า
ปริมาณและความเข้มของแสงบนพื้นดินในสวนเก่าจะลดลงเป็นลำดับ เมื่อพุ่มต้นไม้ผลแผ่กว้างออกและชิดกันในที่สุด ทำให้พืชต้องการปริมาณและความเข้มของแสงมากมีจำนวนลดลง เหลือแต่กลุ่มที่อ่อนไหวต่อแสงน้อยกว่า ในสวนเก่าจึงมีประชากรและความหลากหลายของชนิดวัชพืชน้อยกว่าการมีปริมาณลดลงจึงควบคุมได้ง่ายกว่าในสวนใหม่มาก

หลักการจัดการ
ชาวสวนควรมีความเข้าใจในเองต้นเลยว่า วัชพืชและการควบคุมเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศน์ในสวน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องหรือปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่น หรือกิจกรรมอื่นในระบบ การจัดการจำเป็นต้องมองให้เห็นภาพโดยรวมของระบบ แล้วการจัดภาพโดยรวมของสวนไปที่แต่ละสวน มากกว่าจะจะแยกส่วนที่เป็นวัชพืชออกมาโดยอิสระ หลักการที่สำคัญก็คือการทำให้ทุกชีวิต หรือทุกองค์ประกอบของระบบ ได้รับประโยชน์ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน อาจจะโดยการหมุนเวียนหรือนำกลับมาใช้อีกโดยมีคนเป็นศูนย์กลางที่จะกำหนดองค์ประกอบใดในระบบ ให้มีการเคลื่อนไปตามวัตถุประสงค์ อย่างเป็นลำดับตามความสำคัญ อย่างเหมาะสมทั้งกาละเทศะ ให้สอดคล้องกันมากที่สุด ไม่มีเศษเหลือ ส่วนเกินที่ต้องกำจัดตัดทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ หรือหากจะมีก็ให้มีน้อยที่สุด

วิธีการจัดการ
การจัดการวัชพืช เป็นศาสตร์ที่อาจต้องใช้แนวทางจากกรณีที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว แล้วมาปรุงแต่งเพิ่มเติมตามเงื่อนไขของแต่ละส่วนเอง
ในหลักการเดิมการควบคุมวัชพืชใน สวนไม้ผลนิยมทำได้หลายวิธีคือ
1. การใช้เครื่องมือ เช่นการไถ การใช้จอบหมุน การใช้รถตัดหญ้า และการใช้มีดฟันหญ้า เป็นต้น
2. การใช้ยากำจัดวัชพืช
3. การใช้พืชคลุมดิน
โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีการ 2-3 วิธีร่วมกัน ที่นิยมทำกันมาก คือการใช้ยากำจัดวัชพืชใต้ต้นไม้ผล และใช้รถตัดหญ้าในระหว่างแถวปลูก สวนที่ขาดแคลนน้ำมักจะกำจัดวัชพืชให้หมดสิ้นเพื่อไม่ให้วัชพืชแย่งน้ำและอาหาร ส่วนสวนที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์และสวนที่มีพื้นที่ลาดเอียง จะใช้พืชคลุมดินช่วยในการควบคุมวัชพืช แล้วจึงใช้ยากำจัดวัชพืชในบริเวณที่รถตัดหญ้าเข้าไม่ถึง ร่วมกับการใช้รถตัดหญ้า
หรือใช้พืชคลุมดินมีอยู่ 2 พวกใหญ่ ๆ คือ ใช้พืชคลุมดินตระกูลหญ้า เช่นหญ้าลูกเห็บ และหญ้ามาเลเซีย เป็นต้น ใช้พืชคลุมดินตระกูลถั่ว เช่นถั่วเซนโตซิม่า ถั่วคาโลโบเนียม และ กรีนลีฟ สำหรับที่สูงบนภูเขา เป็นต้น
ส่วนไม้ผลที่ไม่มีการชลประทานส่วนใหญ่ มักจะประสบปัญหาวัชพืชที่แห้งตายในฤดูแล้งจะเป็นแหล่งของเชื้อเพลิงทำให้ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ จนบางสวนต้องเลิกกิจการไป
ส่วนผู้ปลูกไม้ผลที่ตัดสินใจจะใช้ยากำจัดวัชพืช ควรจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและวิธีการใช้อย่างละเอียด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และเป็นการใช้ยากำจัดวัชพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ยากำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในสวนผลไม้มีหลายอย่าง เช่น พาราควอท (Paraquot) ไดยูรอน (Diuron) ; 2,4 –D ; ดาลาพอน (Dalapon) หรือ เทอบาซิล (Terbacil)
อย่างไรก็ตามหลักการใหม่ ผู้เขียนได้เสนอแนวใหม่ในการจัดการวัชพืชในสวนโดยเสนอหลักการจัดการดังนี้
สวนขนาดเล็ก มักเป็นสวนที่พัฒนามาจากการทำฟาร์มแบบยังชีพ (subsistence farming) พื้นที่ถือครองมีขนาดเล็ก เช่นกรณีของภาคเหนือตอนบน มีขนาดต่ำกว่า 10 ไร่ลงมา ชาวสวนเป็นเกษตรกรค่อนข้างยากจน มักหารายได้นอกการเกษตรเป็นอาชีพเสริม การจัดการที่จะนำมาใช้โดยเฉพาะกับสวนใหม่ จึงจำเป็นที่ต้องพิจารณาถึงรายได้เพื่อการยังชีพในระยะแรกของชาวสวน ขณะที่ไม้ผลยังไม่ใช้ผลตอบแทน ใช้ปัจจัยการผลิต/การจัดการที่มีต้นทุนต่ำ และความยั่งยืน ระบบเกษตรแบบผสมผสานที่มีมะม่วงเป็นหลัก เป็นกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นแนวทางการจัดการวัชพืช โดยการใช้พืชตระกูลถั่ว บำรุงดิน ถั่วฮามาด้า มาทำหน้าที่เป็นพืชคลุมดิน (cover crop) เพื่อควบคุมวัชพืชในสวนมะม่วง บนที่ดอนอาศัยน้ำฝนของภาคเหนือตอนบน (ธวัชชัยและคณะ, 2542)
สวนขนาดใหญ่ การทำสวนไม้ผลเป็นการค้าในประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนถึงนับพันไร่ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นสวนส้มโซกุน (กระบี่) สวนส้มสีทอง (เชียงใหม่) ส่วนมะม่วงโชคอนันต์ (ประจวบคีรีขันธ์) มีการใช้ตลาดหรือธุรกิจเป็นตัวนำ เจ้าของเป็นนักธุรกิจ จึงพร้อมที่จะใช้ปัจจัยการผลิตมูลค่าสูงและให้ความสนใจกับเทคโนดลยีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลตอบแทนสูง ความยั่งยืนของระบบอาจเป็นลำดับรอง ทำให้การจัดการสวนเน้นไปที่การใช้เลือกเครื่องจักรกลที่ใช้ประโยชน์รอบด้าน เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละพื้นที่และกิจกรรมที่ไม่สามารถใช้แรงงานในบริเวณสวน กำหนดกิจกรรมและการใช้ทรัพยากรของฟาร์มที่มีอยู่อย่างจำกัดในรอบปีอย่างลงตัว วัชพืชและการจัดการก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งในนั้น

สรุป
วัชพืชเป็นปัญหาที่สำคัญของสวนไม้ผล หากไม่อยู่ภายใต้การควบคุมก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าไปดูแลสวน เป็นที่หลบช่อนของ โรค แมลง สัตว์ศัตรูพืช แก่งแย่งปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชหลักเป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่แห้งแล้ง เป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญของสวน แต่เกษตรกรชาวสวนอาจใช้ความหลากหลายของวัชพืชที่เป็นพืชธรรมชาติเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นพืชคลุมดิน หรือพืชอาหารสัตว์ พืชอาหารมนุษย์และสมุนไพร วัชพืชเป็นปัญหาสำคัญในสวนใหม่ที่ยากต่อการเข้าควบคุมกว่าสวนเก่า เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการงอกงามของวัชพืช การจัดการวัชพืชในสวนไม้ผลมีหลักการอยู่ที่การมององค์รวมของสวน และให้เป้าหมายการควบคุมวัชพืชเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบที่ไม่แยกส่วนเป็นอิสระ ให้ทุกองค์ประกอบของระบบ ได้รับประโยชน์ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน อาจจะโดยการหมุนเวียนหรือนำกลับมาใช้อีก และเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกันมากที่สุด การใช้พืชตระกูลถั่วเป็นพืชคลุมดิน เพื่อควบคุมวัชพืช ใน "ระบบเกษตรแบบผสมผสานที่มีมะม่วงเป็นพืชหลัก บนที่ดอนอาศัยน้ำฝน" ได้เสนอให้พิจารณาเป็นกรณีศึกษา







รูปที่ 2.2 วัชพืชที่โตเต็มที่
โรคและการควบคุมโรคไม้ผล
โรคพืชเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการจำกัดผลผลิตของพืชลง นอกเหนือจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งทั้งนักโรคพืชและเกษตรกรต้องพบอยู่เป็นประจำ พืชที่ปลูกจะเป็นโรครุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น พันธุ์พืชที่ปลูกอ่อนแอต่อโรค เชื้อโรคที่แข็งแรงและมีความรุนแรง ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคหรือการระบาดของโรค โรคบางชนิดถ้าเกิดการระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็วหากผู้ปลูกไม่มีความรู้ด้านโรคพืช และวิธีการป้องกันกำจัดที่ดีพอ ก็อาจทำให้การป้องกันกำจัดโรคนั้นไม่ได้ผลหรือไม่ทันเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตเป็นอย่างมากจนอาจทำให้ผู้ปลูกพืชนั้นหมดกำลังใจก็ได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ปลูกพืชได้มีการศึกษาวิชาการด้านโรคพืชและแนวทางในการป้องกันกำจัดมากพอสมควรก็จะสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง รวมถึงมีการตัดสินใจที่ดีในการหาวิธีการป้องกันกำจัดโรคให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลตอบแทนจากการปลูกพืชนั้นๆ ได้มากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้ไม้ผลเป็นโรค
โรคไม้ผลเกิดจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งพอจะแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้
เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (ไม่มีเชื้อ)
สิ่งไม่มีชีวิตดังกล่าวก็คือ สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป สภาพของดินน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรืออาจเกิดจากความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยจนเกินไป
เกิดจากสิ่งมีชีวิต (มีเชื้อ)
สิ่งมีชีวิตที่ทำให้พืชเป็นโรคคือจุลินทรีย์ หรือสัตว์ที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (พืชที่เพาะปลูก) จนทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น (พืชเป็นโรค) และก่อความเสียหายในระยะต่อมา จุลินทรีย์เหล่านี้ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส มายโคพลาสมา (ไพโตพลาสมา) และไวรัส ส่วนสัตว์ที่มีขนาดเล็กที่ทำให้พืชเป็นโรคได้แก่ ไส้เดือนฝอยชนิดต่างๆ

โรคที่สำคัญของไม้ผลและการควบคุม
การปลูกไม้ผลแต่ละชนิดมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป พืชบางชนิดต้องมีการเพาะกล้าก่อนที่จะลงปลูกในแปลงใหญ่ พืชบางชนิดต้องปลูกโดยทำเป็นต้นต่อก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนยอดโดยวิธีการติดตาทาบกิ่ง หลังจากการปลูกไปแล้วต้องมีการดูแลรักษาและการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตแข็งแรงและไห้ผลผลิตดี
อย่างไรก็ตามในการปลูกไม้ผลแต่ละชนิดมักมีปัญหาเกี่ยวกับการระบาดของโรคพืชอยู่เสมอ โรคของไม้ผลที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อราหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคจะแตกต่างกันไปตามชนิดของไม้ผล การป้องกันกำจัดโรคเหล่านั้นจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โรคที่สำคัญของไม้ผลมีดังต่อไปนี้
1. โรคเน่า (root rot) เป็นโรคที่มักพบกับระยะกล้าและต้นโต เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Pythium spp, Phytophthora spp. และ Rhizoctonia sp. ซึ่งเป็นเชื้อราอาศัยในดิน เมื่อสภาพแวดล้อมในดินเปลี่ยนแปลง มีความเหมาะสมกับเชื้อก็จะมีการระบาดเข้าทำลายระบบรากของไม้ผลเช่น สภาพดินที่มีน้ำขังจะเอื้ออำนวยต่อการเข้าทำลายของเชื้อ Pythimu spp. ทำให้ต้นกล้าไม้ผล แสดงอาการเหี่ยว ใบร่วงและชะงักการเจริญเติบโต และถ้ามีสภาพน้ำขังนานก็จะทำให้ต้นเหี่ยวตาย ในกรณีต้นโตระบบรากจะถูกทำลายทีละน้อยมักเป็นบริเวณรากฝอย จึงทำให้ระบบรากฝอยเน่าเหลือน้อย ระบบยึดดินของต้นพืชอ่อนแอเมื่อจับโยกดูลำต้นโยกคลอนหรือล้มง่ายเมื่อโดนลมพายุ ต้นไม้ผลที่โตแล้วที่เป็นโรครากเน่าจะชะงักการเจริญเติบโต ติดดอกออกผลน้อย ตัวอย่างโรคที่สำคัญได้แก่ โรครากเน่าของมะละกอ เกิดจากเชื้อรา Pythiume aphanidermatum และโรครากเน่าของส้มเกิดจากเชื้อรา Phytophthora nicotianae var. parasitica.
วิธีป้องกันกำจัดรากโรคเน่าควรเน้นในการเตรียมดินและการจัดการสวนที่ดี เช่น การจัดการระบายน้ำน้ำที่ดี และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างในอยู่ระหว่างระดับ 6-7 รวมทั้งปรับปรุงลักษณะทางฟิสิกส์ของดินให้มีความร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุเพียงพอรวมทั้งการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูก แล้วเสริมด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้พอเหมาะกับระยะการเจริญเติบโตของพืช โรครากเน่าจะมีการระบาดน้อยเมื่อมีการใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก เพราะในปุ๋ยธรรมชาติเหล่านี้มีเชื้อจุลินทรีย์สารมากมายหลายชนิด ซึ่งจะรวมตัวกันในดินบริเวณรากพืช ช่วยป้องกันเชื้อโรคที่มีอยู่แล้วในดินบริเวณแปลงปลูกไม้ให้เชื้อโรคเข้าทำลายราก วิธีนี้จึงเป็นวิธีควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีที่ดีวิธีหนึ่ง ส่วนวิธีการใช้สารเคมีในการทำลายเชื้อโรคในแปลงปลูกเป็นวิธีที่ใช้ทุนมากและกระทำได้ในปริมาณและประสิทธิภาพที่จำกัดเป็นวิธีการที่ให้ผลในระยะสั้นช่วงใดช่วงหนึ่งของพืชเท่านั้น เช่นการใช้สารเคมีรมฆ่าเชื้อในดินแปลงเพาะกล้า การใช้วิธีคลุมผิวดินด้วยแผ่นพลาสติกใสเพื่อใช้แสงแดดเพิ่มอุณหภูมิฆ่าเชื้อในดินเป็นวิธีที่นิยมกันในหลายประเทศ
2. โรครากเน่าและโคนเน่า (root and foot rot) เป็นโรคที่ระบาดมากในไม้ผลต้นโตหลายชนิด เกิดจากเชื้อราบางชนิด เช่นเดียวกันโรครากเน่า เช่นเชื้อรา Phytophthora spp. และ Pythium aphanidermatum เข้าทำลายลุกลามขึ้นโคนต้น ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณโคนต้นไม้ผลแสดงอาหารเปียกเยิ้มมียางไหล เนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเน่าตาย แสดงอาการซีดเหลืองของใบและแสดงอาการใบร่วงในเวลาต่อมา พืชจำนวนมากแสดงอาการใบร่วงและลำต้นยืนแห้งตาย เชื้อสาเหตุของโรคสามารถแพร่ระบาดทางลมฝนและน้ำในดิน ทำให้กิ่งและลำต้นระดับเหนือดินเป็นโรคแสดงอาการเนื้อเยื่อตาย เชื้อโรคชนิดเดียวกันอาจแพร่ระบาดเข้าทำลายผลไม้ทำให้ผลเป็นจุดเน่า ผลร่วงหล่น ตัวอย่างโรครากเน่าและโคนเน่าที่สำคัญเช่น โรครากเน่าของส้ม เกิดจากเชื้อรา Phytopthora nicotianae var parasitica และโรคโคนเน่าและผลเน่าของทุเรียน เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora. โรคโคนเน่าต้นมะละกอเกิดจากกเชื้อรา Phytium aphanidermatum
วิธีการป้องกันกำจัดโรครากและโคนเน่า ควรทำเช่นเดียวกับโรครากเน่าและมีการเพิ่มการป้องกันระดับเหนือดินโดยวิธีการตัดแต่งทรงพุ่มไม้ผลให้โปร่ง เพื่อให้อากาศระบายความชื้นในทรงพุ่มให้ลดน้อยลง ทำให้บรรยากาศภายในทรงพุ่มต้นแห้งไม้เอื้ออำนวยต่อากรแพร่ระบาดเข้าทำลายกิ่ง ใบ ดอก และผล นอกจากนี้ควรเพิ่มมาตรการฉีดพ่นป้องกันด้วยสารเคมีโดยพ่นทั้งในและนอกทรงพุ่ม เพื่อป้องกันในระยะก่อนการระบาดของโรค
3. โรคเหี่ยว(wilt) เป็นโรคที่ทำความสูญเสียรุนแรงกับไม้ผลระยะการเจริญเติบโต เชื้อโรคระบาดเข้าสู่รากทางดินเข้าสู่ระบบท่อน้ำท่ออาหารของต้นพืช ทำให้ท่อน้ำและท่ออาหารถูกอุดตันและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ทำให้ใบเหี่ยวตายอย่างรวดเร็ว และยืนต้นตายในเวลาต่อมา เชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหี่ยวของไม้ผลมีหลายชนิด คือ เชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum และเกิดจากกลุ่มเชื้อรา คือ Fusarium oxysporum และ Verticillium sp. มีข้อสังเกตุความแตกต่างระหว่างโรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรียกับราในสภาพสวนและไร่ โดยการตัดเนื้อเยื่อพืชที่ผิดปกตินำไปแช่น้ำสะอาดในแก้วน้ำ ถ้าเป็นแบคทีเรียจะมีน้ำขุ่นขาวของกลุ่มเชื้อแบคทีเรีย (bacterial oozes ) พุงทะลักออกมา ส่วนเชื้อราจะไม่ปรากฏลักษณะดังกล่าว การระบาดของโรคเหี่ยวมีสาเหตุเนื่องจากสภาพดินที่ไม่เหมาะสม ขาดความสมดุลย์ของแร่ธาตุอาหารและจุลินทรย์ที่เป็นศัตรูธรรมชาติในดิน ทำให้เชื้อราหรือแบคทีเรียสาเหตุของโรคเข้าทำลายพืชได้ง่าย ตัวอย่างโรคเหี่ยวที่สำคัญคือ โรคเหี่ยวของกล้วยหรือโรคกล้วยตายพรายเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense. โรคเหี่ยวของกล้วยเกิดจากเชื้อบักเตรี Pseudomonas solancearum และโรคเหี่ยวของต้นอะโวคาโดเกิดจากเชื้อรา Pseudomonas solanacearum และโรคเหี่ยวของต้นอะโวกาโดเกิดจากเชื้อรา Verticillium dahliae
วิธีการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของต้นพืชมีความเกี่ยวข้องกับการเตรียมดินที่ดี ปรับระดับความเป็นกรดด่างอย่างเหมาะสมกับพืช การเพิ่มจุลินทรย์ในดินสภาพปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัว
ดีแล้วลงดินจะช่วยลดโรคเหี่ยวได้มาก การใช้น้ำเสียที่ปนเปื้อนจากโรงงานในการรดต้นไม้ก็จะไปทำลายจุลินทรย์ในดิน ทำให้ขาดความสมดุลย์ทางชีววิธีในดินก็จะทำให้มีเชื้อระบาดทำลายทำให้มีลำต้นเหี่ยวมากขึ้น วิธีการใช้สารเคมีควบคุมโรคเหี่ยวภายหลังจากเกิดโรคจะให้ผลน้อยมาก
4. โรคโคนเน่าระดับดิน (collar rot) พบระบาดในระยะกล้าหรือระยะต้นโตในไม้ผลบางชนิด ทำให้ต้นกล้าแห้งตายหรือลำต้นเหี่ยวตาย เชื้อสาเหตุคือรา Sclerotium rolfsii หรือ “ราเมล็ดผักกาด” ซึ่งเจริญเข้าทำลายต้นระดับดินและสร้างเส้นใยขาวฟูรอบโคนต้น มีกลุ่มของเส้นใยรวมตัวเป็นเม็ดกลมๆ คล้ายเมล็ดผักกาดแต่มีสีขาว เรียกว่าเม็ดสะเคลอโรเทียม (sclerotium ) ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำรวมเป็นกระจุกบริเวณโคนต้นพืชที่ถูกทำลาย ส่วนของเชื้อที่เป็นเม็ดกลมๆ ของเชื้อราใช้ในการแพร่พันธุ์และตกค้างในดินได้นาน ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อเข้าทำลายโคนต้นพืชในฤดูกาลต่อไป ตัวอย่างโรคที่สำคัญคือ โรคโคนต้นเน่าระดับดินในกล้ามะม่วง และโรคโคนเน่าของแอปเปิล
วิธีการป้องกันกำจัดโรคโคนต้นเน่าระดับดินมักเน้นถึงการปรับสภาพดินที่เหมาะสมและการใส่เชื้อจุลินทรย์หลายชนิดลงในดินโดยใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักซึ่งสามารถทำลายเชื้อราสาเหตุของโรคได้ เช่นรา Trichoderma spp. เข้าทำลายเส้นใยและเม็ดสะเคลอโรเทียมของเชื้อราทำให้ช่วยลดประชากรของเชื้อโรคในดิน การใช้ดินเพาะกล้าที่ซ้ำซากหรือใช้วัสดุเพาะที่เก่าก็จะมีโรคชนิดนี้ระบาดได้ง่ายเป็นประจำ ควรรื้อทำลายปรับส่วนผสมของดินและให้มีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควรเพาะกล้าแน่นเกินไป หากพบต้นกล้าเริ่มเหี่ยวเป็นหย่อมๆ ให้สำรวจดูที่โคนต้นถ้าพบลักษณะของเชื้อราดังกล่าว ต้องรวบรวมต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย การใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือราดแปลงกล้าจะช่วยป้องกันโรคชนิดนี้ได้ เช่น เอทาโซล (ethazole) หรือ พีซีเอ็นบี (PCNB) ในการราดดินหรือวัสดุเพาะกล้าเป็นระยะๆ จะช่วยยับยั้งการระบาดของโรค ในกรณีไม้ผลต้นโตที่พบเห็นโรคเริ่มเข้าทำลายที่โคนควรขุดดินบริเวณโคนออกและถากผิวเปลือกที่ถูกทำลายออกแล้วทาสารเคมีดังกล่าว
5. โรครากปม (root knot) พบระบาดกับไม้ผลหลายชนิด ทำให้ลำต้นชะงักการเจริญเติบโต มีสาเหตุจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp. อาศัยอยู่ในดินเข้าทำลายทางระบบราก ทำให้รากเกิดอาการบวมมองเห็นเป็นปมมากมาก มีผลต่อการดูดน้ำเลี้ยงของรากที่ส่งไปเลี้ยงลำต้นทำให้ลำต้นแคระแกรน ใบซีดเหลืองหรือเหี่ยว ตัวอย่างที่สำคัญโรครากปมของไม้ผล เช่น โรครากปมของฝรั่ง โรครากปมของต้นมะละกอและสับปะรด
6. โรคแอนแทรกโนส (anthracnose) เป็นโรคที่สำคัญที่สุดของไม้ผลในเขตร้อน เพราะมีการระบาดได้แทบทุกระยะการเจริญเติบโต ระยะแทงช่อดอก ติดผล และระยะหลังเก็บเกี่ยว สาเหตุ คือเชื้อรา Colletorichum gloeosporioides และ Colletotrichum spp. ทำลายพืชไม้ผลได้หลายชนิด เมื่อระบาดทำลายระยะกล้าจะทำให้เป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลเกิดกระจัดกระจายบนใบอ่อน ทำให้ใบเจริญผิดปกติใบบิดเบี้ยว เชื้อราเมื่อแพร่ระบาดเข้าทำลายยอดอ่อน ในปริมาณมากทำให้ใบแห้งตาย บริเวณลำต้นกล้าที่มีสีเขียวจะเป็นจะสีน้ำตาล เนื้อเยื่อเน่าตาย เชื้อราเข้าทำลายทำให้ต้นกล้าหักพับและยอดเหี่ยว ในระยะต้นโตจะพบอาการใบที่แตกใหม่เป็นจุดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อใบที่เป็นโรคบริเวณกลางจุดมักแตกเป็นรู เชื้อราแพร่ระบาดเข้าช่อดอกทำให้ช่อดอกเน่าดำ ทำให้ผลไม้ระยะที่ผลพัฒนาขนาดปรากฏจุดกำเกิดกระจัดกระจายในลักษณะไหลเป็นทางจากขั้วผลไปสู่ก้นผล ทำให้ผลไม้ชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนที่เป็นโรคแอนแทรคโนสจะเน่าดำเสียหายและผลร่วง ระยะที่ผลพัฒนาขนาดของผลโตจนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยวจะพบโรคเป็นจุดดำบนผลมีขนาดแตกต่างกัน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของเชื้อโรคคือสภาพอากาศร้อนและชื้นจะทำให้เกิดจุดดำของโรคอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลแตกตรงจุดดำระยะใกล้เก็บเกี่ยวผลไม้ระยะใกล้สุกในโรงเก็บที่ไม่ปรากฏลักษณะอาการของโรคมาก่อนเมื่อเก็บรักษาไว้ในระยะหลังเก็บเกี่ยวผลไม้ระยะหลังเก็บเกี่ยวจะมีโรคแอนแทรกโนส ซึ่งสามารถพักอาศัยอยู่ในผิวผลตกค้างมาจากสวนเริ่มเจริญเติบโตทำลายผลสุก ยิ่งผลไม้สุกงอมมากจะปรากฏจุดดำของโรคแอนแทรกโนสบนผลไม้เป็นจำนวนมาก วิธีการเข้าทำลายแบบแฝง (latent infection) และพบเชื้อราสร้างสปอร์ในลักษณะเมือกลีชมพูให้เห็นชัดเจนบนผลที่เน่าดำ จึงเป็นอุปสรรคในการส่งผลไม้ไปต่างประเทศ ตัวอย่างโรคแอนแทรคโนสที่สำคัญได้แก่ โรคแอนแทรกโนสในมะม่วง กล้วย มะละกอ พุทรา องุ่น และอะโวกาโด





รูปที่ 2.3 ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในสวนส้ม รูปที่ 2.4 ฉีดพ่นยากำจัดโรคทางดิน

การป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนสทั้งระยะกล้าและต้นโตทำได้โดยการเน้นในการเตรียมเพาะต้นกล้าให้ห่างกันไม่แน่นทึบ ตัดแต่งทรงพุ่มต้นโตให้โปร่งแสง เมื่อมีการระบาดของโรคต้องมีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันเป็นระยะๆ โดยเฉพาะระยะที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนมีลักษณะอวบน้ำคือ ระยะกล้า ระยะแตกยอดใหม่ ระยะแทงช่อดอก และระยะติดผล สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นมีชนิดดูดซึม (systemic fungicide) เช่น เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) มักใช้ฉีดพ่นสลับสลับกับสารชนิดไม่ดูดซึม (contact fungicide) เช่น แมนคอเซ็บ (mancozeb) การฉีดพ่นสารเคมีชนิดดูดซึมบ่อยครั้งติดกันอาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อสารเคมี จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ผลไม้ที่ได้รับการควบคุมด้วยสารเคมีจากสวนแล้วมีความจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการควบคุมโรคระยะหลังเก็บเกี่ยวในกรณีที่ต้องใช้เวลาเก็บรักษานานหรือส่งออกต่างประเทศ โดยการใช้สารเคมีร่วมกับน้ำร้อนที่ระดับอุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับผลไม้แต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น การใช้ คาร์เบนดาซิม หรือ เบนโนมิลที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ใช้จุ่มผลมะม่วงและมะละกอหลังระยะเก็บเกี่ยวโดยใช้ระยะเวลาต่างกัน 5 และ 20 นาที ตามลำดับจะลดปัญหาผลเน่าเนื่องจากโรคแอนแทรคโนสของผลไม้ทั้งสองชนิด
7. โรคราแป้ง (powdery mildew) ทำความเสียหายระยะช่อดอกและติดผลของไม้ผลหลายชนิด กลุ่มเชื้อราสีขาวคล้ายฝุ่นแป้งเจริญปกคลุมใบและช่อดอกทำให้ดอกร่วงไม่ติดผล ราแป้งเกิดจากเชื้อ Oidium spp. พบระบาดเข้าทำลายพืชในสภาพที่แห้งแล้งและมีอากาศเย็น เชื้อราจะสร้างสปอร์บนช่อดอกได้ดีเมื่อพืชแสดงอาการของโรครุนแรงและมีสภาพความชุ่มชื้นในอากาศที่สูงพอ การเข้าทำลายระยะแรก ๆ ในพืชบางชนิดจะไม่ปรากฏกลุ่มเชื้อราที่เด่นชัด เชื้อราแป้งในพืชบางชนิดระบาดทำลายเฉพาะผลไม้ระยะพัฒนาขนาดของผลต่างๆ กัน ทำให้ผลไม้ชะงักการเจริญเติบโต ผลบิดเบี้ยว มีร่องรอยตกกระบนผิวผลเมื่อโตขึ้นและทำให้รสชาติเปลี่ยนไป ในไม้ผลบางชนิดพบราแป้งบนใบอ่อนที่อยู่ในพุ่มและพบเฉพาะในที่สูงบนภูเขาที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น ราแป้งทำลายใบอ่อนรุนแรงมีราสีขาวปกคลุมทั่วทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ตัวอย่างที่สำคัญของโรคราแป้งในไม้ผลคือ โรคราแป้งของ มะม่วง องุ่น เงาะ พุทรา แอปเปิล และท้อ
วิธีการป้องกันกำจัดโรคราแป้งต้องเน้นในการใช้สารเคมีฉีดพ่นป้องกันเป็นระยะๆ โดยทั่วไปใช้กำมะถัน (wettable sulfur) ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงเมื่อฉีดพ่นทั่วถึง มีข้อควรระวังอัตราที่เข้มข้นจะทำให้เกิดการเป็นพิษทำลายเนื่อเยื่อพืชโดยเฉพาะในสภาพที่มีอากาศร้อนและมีอุณหภูมิสูง สารเคมีชนิดดูดซึมที่ควบคุมโรคราแป้งที่ได้ผลดี เช่น ไตรอาดีมีฟอน (triadimefon) พาราโซฟอส (parasophos) และสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดที่ใช้ควบคุมราแป้งได้ดี
8. โรคราสนิม(rust) พบระบาดกับไม้ผลหลายชนิด ทำให้เกิดจุดซีดเหลืองด้านบนใบ
และมีกลุ่มเชื้อสีเหลืองส้มหรือน้ำตาล ลักษณะคล้ายกับฝุ่นสนิมด้านใต้ใบ จุดอาจรวมกันทำให้เกิดอาการใบไหม้แห้งตาย และใบร่วงทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต มีสาเหตุจากเชื้อราสนิมหลายชนิด เช่น โรคราสนิมองุ่นเกิดจากเชื้อ Phakopsora ampelopsids โรคราสนิมท้อเกิดจากเชื้อ Tranzschelia discolor โรคราสนิมขนุนเชื้อเกิดจาก Physopella artocarpi โรคราสนิมพุทธาเกิดจากเชื้อ Phakopsora zizphi-vulgaris โรคราสนิมมักแสดงอาการชัดเจนในใบแก่
การควบคุมโรคราสนิมของไม้ผลควรเน้นการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง พ่นสารกำจัดที่มีประสิทธิภาพสูง เฉพาะราสนิม เช่น อ๊อกซีคาร์บ๊อกซิน (oxycarboxin) ซึ่งใช้ควบคุมโรคราสนิมของพืชหลายชนิด
9. โรคราน้ำค้าง (downy mildew) เป็นโรคที่ระบาดได้รุนแรงในสภาพที่มีความชื้นสูงระยะยาวนานมีฝนตกชุก พบระบาดรุนแรงกับองุ่น เกิดจากเชื้อ Plasmopara viticola ทำให้ใบองุ่นเป็นจุดด่างเหลืองด้านบนใบและมีกลุ่มเส้นใยสีขาวฟูด้านใต้ใบ จุดอาจขยายลุกลามเข้าหากัน ทำให้เกิดอาการใบแห้งตาย เมื่อมีสภาพอากาศแห้งแล้ง เชื้อราน้ำค้างเป็นราชั้นต่ำซึ่งแพร่ระบาดทางลมและฝนและทางการให้น้ำจึงเข้าทำลายช่อดอกและผลองุ่นได้ง่าย ทำให้ช่อดอกแห้งและผลองุ่นบิดงอชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างควรตัดแต่งทรงพุ่มในสวนองุ่นให้โปร่ง มีแดดส่องถึง
และมีการระบายอากาศดีทำให้สามารถฉีดพ่นสารเคมีได้ทั่วถึง สารเคมีชนิดที่ได้ผลดีกับราน้ำค้าง ได้แก่ แมนคอเซ็บ (mancozeb) เมตาแลคซิล (metalaxyl) และฟอสแอทธิล อลูมินัม (fosethylaluminum)
10. โรคใบจุด (leaf spot) พบระบาดกับพืชไม้ผลหลายชนิดทำให้เกิดจุดใบมีรูปร่างของจุดแตกต่างกันหลายแบบตามแต่ชนิดของเชื้อสาเหตุที่เข้าทำลายขึ้นอยู่กับกลุ่มของเชื้อรา เช่น Pestalotiopsis spp., Macrophoma spp., Cercospora spp., และ Phyllosticta spp. ส่วนที่เป็นกลุ่มของบักเตรี เช่น Xanthomonas spp. อาการใบจุดที่เกิดจากเชื้อราเมื่อสุ่มตรวจดูด้วยแว่นขยายก็จะพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นตุ่มดำ ๆ หรือ เป็นกลุ่มของเส้นใยเชื้อราเจริญฟูบริเวณกลางแผลของเนื้อเยื่อที่ตาย แผลที่ถูกทำลายโดยบักเตรีจะพบลักษณะเป็น หยดน้ำเยิ้มของบักเตรี (bacterial exudates) ตามบริเวณขอบแผลซึ่งมีเนื้อเยื่อฉ่ำน้ำ (water soaked) ลักษณะอาการของโรคใบจุดและส่วนของเชื้อที่ปรากฎจะช่วยบอกกลุ่มของเชื้อสาเหตุเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทัศน์ เพราะมีลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจน ตัวอย่าง โรคใบจุดพบกับไม้ผลทุกชนิด เช่น มะม่วง มะขาม ทักทิมและอื่น ๆ
วิธีป้องกันกำจัดโรคใบจุดควรเริ่มจากการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งแล้วพ่นป้องกันด้วย สารเคมีเป็นระยะ ๆ เน้นระยะใบอ่อน สารเคมีที่ใช้แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ได้ผลดีชนิดดูดซึมเช่น เบนโนมิล และ คาร์เบนดาซิม และชนิดไม่ดูดซึม ได้แก่ แมนคอเซ็บ และสารทองแดง (copper fungicide) เช่น คอปเปอร์ออกซิคคอลไรด์ (copper oxychloride) และคูปรัสออกไซด์ (cuprous oxide) สารทองแดงมีข้อระมัดระวังในการฉีดพ่นพืชระยะช่อดอกและติดผลอ่อนซึ่งอาจเป็นอันรายทำให้ผลมีผิวลายเมื่อโตขึ้น แต่สารชนิดนี้ให้ผลดีในการควบคุมโรคใบจุดที่เกิดจากบักเตรีและเชื้อราเมื่อฉีดพ่นทั่วถึง





รูปที่ 2.5 รถพ่นยาฆ่าแมลง
11. โรคใบไหม้ใบติด (leaf blight) ทำให้พืชใบร่วมอย่างมาก ลักษณะอาการของโรคจะมีจุดตายบนใบแล้วขยายตัวลุกลามอย่างรวดเร็ว ทำให้มองเห็นเป็นลักษณะใบไหม้แห้งตาย มีสาเหตุจากเชื้อรา Rhizoctonia sp. ซึ่งสร้างเส้นใยเข้าทำลายใบ มีลักษณะคล้ายใยแมงมุมคลุมใต้ใบหรือบนใบและลุกลามไปยังใบใกล้เคียง เส้นใยของเชื้อรายึดติดกันทำให้ใบที่แห้งตายติดกันเป็นกระจุก ตัวอย่าง โรคใบติดที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบติดของทุเรียน สตรอเบอรี่ และกล้ามะม่วง
วิธีการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้หรือใบติดต้องลดความชุ่มชื้นในทรงพุ่ม โดยวิธีการตัดแต่งกิ่งตามฤดูกาลที่เพียงพอ โดยเฉพาะชายพุ่มที่ใกล้คะดับดินควรตัดให้โปร่งเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่จะกระเซ็นลุกลามจากดินขึ้นไปสู่ใบ สภาพฤดูกาลที่โรคระบาด คือ อากาศร้อนและชื้น กำจัดวัชพืชและรวบรวมใบเป็นโรคเผาทำลาย ควรฉีดพ่นป้องกันด้วยสารคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ หรือแมนคอเซ็บ
12. โรคราสีชมพู (pink disease) ทำลายไม้ผลยืนต้นทำให้กิ่งตายเนื่องจากเชื้อรา Corticium salmonicolor แพร่ระบาดทางลมเข้าทำลายบริเวณง่ามกิ่ง แล้วสร้างกลุ่มของเส้นใยสีชมพูประสานกันหนาแน่นเจริญคลุมกิ่งและขยายไปตามความยาวของกิ่ง ทำให้เนื้อเยื่อกิ่งตายเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ยอดจะแสดงอาการเหี่ยวและแห้งตาย ตัวอย่างโรคราสีชมพูของไม้ผล คือ โรคราสีชมพูของส้ม เงาะ ทุเรียน ลองกอง และแอปเปิ้ล
วิธีการป้องกันกำจัดโรคราสีชมพูโดยการตัดทรงพุ่มให้โปร่ง และฉีดพ่นสารเคมีป้องกันเป็นครั้งคราวให้สารเคมีเคลือบกิ่งและส่วนของลำต้นภายในพุ่ม หากพบต้นที่เป็นโรคให้รีบตัดกิ่งเผาทำลาย
13. โรคแคงเกอร์ (canker) เป็นโรคที่สำคัญของพืชตระกูลส้ม ทำให้เกิดลักษณะจุดเหลืองนูนทั้งสองด้านของใบส้ม ทำให้กิ่งเป็นแผลแตกโดยเฉพาะกิ่งอ่อนและยอดจะเป็นโรคได้ง่าย ทำให้ ผลส้มเป็นจุดนูนสีน้ำตาลและเป็นแผลบริเวณผิวผลทำให้แลดูไม่สวยงาม เชื้อสาเหตุ คือ เชื้อบักเตรี Xanthomonas campestris pv. citri แพร่ระบาดได้ง่ายโดยทางน้ำที่รดต้นส้ม น้ำฝนที่ตกกระเซ็นนำเชื้อบักเตรีไปทำลายส่วนอื่นของต้นส้ม เมื่อเป็นโรคหนาแน่นจุดนูนอาจเชื่อมกันเป็นแผลโต ทำให้ใบหงิกงอ ผลแตก ยอดชะงักการเจริญเมื่อถูกทำลายร่วมกับหนอนชอนใบส้ม โรคแคงเกอร์รุนแรง คือ ส้มเขียวหวาน มะนาว มะกรูด และส้มโอ
การป้องกันกำจัดโรคแคงเคอร์ส้มต้องเริ่มจาการใช้กิ่งพันธุ์ที่ปราศจาโรค และพ่นป้องกันด้วยคอปเปอร์ออกซี่คอไรด์ (copper oxychoride) หรือสารในกลุ่มทองแดงชนิดอื่น ๆ ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นเป็นระยะ ๆ จะลดความรุนแรงของโรคให้น้อยลง ควรผสมสารจับใบทุกครั้งในการพ่นสารทองแดงควบคุมโรค
14. โรคราดำ (sooty mold) ทำให้ยอด ใบ ช่อดอก ลำต้นและกิ่งมีกลุ่มราสีดำเจริญคลุมผิว
มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Meliola sp. และ Capnodium sp. อาศัยผิวพืชเป็นที่ยึดเกาะโดยมีการระบาดร่วมกับแมลง เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย ที่เข้าทำลายพืชและขับถ่ายสารเหนียว ๆ (honey dew) ลงจับที่ใบ กิ่งและช่อดอกเป็นอาหารของเชื้อราดำ ซึ่งเจริญบนผิวพืชจะบดบังการสังเคราะห์แสงและชะงักการเจริญเติบโตของพืช ช่อดอก ที่มีราดำจะบานช้าและผิดปกติ ไม่ติดผล ราดำที่คลุมกิ่งและส่วนอื่นของลำต้นที่มีสีเขียวจะมีผลกระทบ ต่อเนื้อเยื่อที่มีการสังเคราะห์แสง ราดำที่เจริญปกคลุมบนผลไม้ ทำให้ผิวผลแลดูไม่สะอาด มีราคาต่ำ ตัวอย่างโรคราดำ ที่สำคัญของไม้ผลคือ ราดำที่ช่อดอกบนกิ่งใบและผลมะม่วง ส้ม ทุเรียน และเงาะ
วิธีการป้องกันกำจัดราดำ โดยการตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อไม่ให้เป็นที่พักอาศัยาของแมลงแล้วฉีดสารเคมีควบคุมแมลงชนิดต่าง ๆ ดังกล่าว ผสมสารเคมีที่ควบคุมเชื้อรา เช่น แมนคอเซ็บ
15. โรคจุดสาหร่ายหรือจุดสนิมแดง (algal disease, red rust) พบเจริญบนใบไม้ผลหลายชนิด มีลักษณะเป็นกลุ่มโคโลนีสีเหลืองหรือสีส้ม เกิดกระจัดกระจายบนใบ มีสาเหตุมาจากสาหร่ายชนิดที่เป็นโรคเพียงชนิดเดียว คือ Caphaleuros virescens ดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ใบชะงักการเจริญเติบโต สาหร่ายที่ระบาดเข้ากิ่งที่จะทำให้เปลือกกิ่งแตก และทำให้เกิดจุดบนผล ตัวอย่างโรคจุดสาหร่ายในไม้ผลที่สำคัญ คือ พบในมะม่วง ส้ม ฝรั่ง อะโวกาโด มะขาม และไม้ผลชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิด วิธีการป้องกันกำจัดโรคฉีดพ่นป้องกันด้วยคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์

แมลงศัตรูไม้ผล
ลักษณะการเข้าทำลาย
โดยทั่วไปการศึกษาแมลงศัตรูพืช วิชานี้ได้เปิดสอนแล้วในภาควิชากีฎะวิทยา ดังนั้นในรายละเอียดต่างๆจะไม่ได้รับการกล่าวถึง ในที่นี้จะเจาะลงไปถึงแมลงที่เป็นศัตรูไม้ผลโดยตรง โดยจะเริ่มจากการเข้าทำลายของแมลงก่อนดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. แมลงที่เข้าทำลายใบ: แมลงที่เข้าทำลายใบมีหลายกลุ่มประกอบด้วย
-กลุ่ม Lepidoptera ; กลุ่มนี้จะยกตัวอย่างเช่น ตัวอ่อนของผีเสื้อ (Lavae) อาจจะเข้าทำลายโดยตรงหรือไม่โดยตรง เช่นหนอนชอนใบในส้มเป็นต้น
-กลุ่ม Coleoptera ; กลุ่มที่เข้าทำลาย เป็นทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ ขึ้นอยู่กับระยะเวลา อาจจะทำลายทั้งหมดทุกระยะทั้งระยะที่เป็นตัวอ่อน และตัวแก่ หรือระยะเดียว เช่นเป็นตัวอ่อน หรือตัวแก่ ระยะเดียว เพียงแต่การทำลายจะทำลายโดยใช้ปากกัดใหัขาดหมดเช่นใบอ่อนมะม่วง โดยเริ่มจากตัวแก่ของพวกนี้วางไข่ เสียบที่ก้านใบแล้วตัวอ่อนจะเริ่มโตใช้ปากกัดใบอ่อนทำลายจนเสียหายหมด
-กลุ่ม Thysanoptera ; พวกนี้คือพวกเพลี้ยไฟที่จะทำให้ผลผลิตและลดคุณภาพผลไม้ลดลงเช่น ส้มจะเกิดเป็นรอยด่าง ยกตัวอย่างเช่นส้มสายน้ำผึ้งของอำเภอฝาง หากถูกเพลี้ยไฟเข้ารบกวนส้มจะถูกทำลายเปลี่ยนจากส้มเกรด A ลงจะเป็นส้มเกรด B ทันทีซึ่งทำให้ราคาเปลี่ยนซึ่งราคาที่แพงมากก็จะถูกลดลงโดยการทำลายของกลุ่มเพลี้ยไฟ
-กลุ่ม Psyllidae; กลุ่มนี้ยกตัวอย่างการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่ฟ้าที่เข้าทำลายใบมะม่วง การเข้าทำลายในส้ม แต่มีความสำคัญไม่มาก วิธีการทำลายเกิดจากการวางไข่ใต้เนื้อเยื่อของใบมะม่วงแล้วมะม่วงจะสร้างเซลล์หุ้มไว้ ตัวอ่อนก็จะฟักตัวกลายเป็นตัวแก่แล้วเจาะทำลายใบออกมา
เรียบเรียงจาก คำบรรยาย อ. ปรัชวาลย์ สุกุมลนันท์ 2543. ภาควิชากีฏะวิทยา คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-กลุ่มไร (mites); กลุ่มนี้ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ไม้ผลในกรณีทำให้ไม้ผลตกเกรดเช่นการตกเกรดของส้มเขียวหวาน ดังนั้นจึงมีการศึกษาควบคู่กันไประหว่างเพลี้ยไฟและไรมากเพราะเกิดการทำลายมาก จึงมีการศึกษาพ่นยาควบคุมโดยมีการผสมสารเคมีอื่นๆเข้าไปเช่นฮอร์โมน และปํยทางใบ การพ่นทุกครั้งต้องระวังเพราะเป็นกาลงทุนที่ค่อนข้างสูงหากไม่ระวังจะเกิดการเสียหายมาก

แมลงที่เข้าทำลายกิ่งและลำต้นไม้ผล
แมลงพวกนี้เป็นกลุ่มที่เข้าทำลายค่อนข้างมาก แก้ไขก็ลำบาก โดยจะเข้าทำลายโดยวิธีกัดกิน ชอนไช ดูดน้ำเลี้ยง เป็นต้น ทั้งนี้ประกอบด้วย
- กลุ่ม Lepidoptera ; กลุ่มนี้จะเข้า เจาะ กัด ทำลาย กิ่ง และ ลำต้น
- กลุ่ม Homoptera: กลุ่มนี้จะยกตัวอย่างเช่นครั่ง โดยมันจะเจาะดูดน้ำเลี้ยงของกิ่งลิ้นจี่ ทำให้เกิดการเสียหายมาก

3. แมลงที่เข้าทำลายช่อดอก : แมลงพวกนี้จะประกอบด้วย
-กลุ่ม Lepidoptera ; จะมีการเข้ากินช่อดอกเป็นครั้งคราวแต่ก็ไม่ใช่ศัตรูทำลายที่สำคัญมากนัก
-กลุ่ม Thusanoptera และกลุ่ม Homoptera ; กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ทำลายมากเช่นเพลี้ยไฟ และเพลี้ยจักจั่น จะเข้าทำลายดอกทำให้เกิดการเสียหายอย่างร้ายแรง ยกตัวอย่างในแถวเชิงดอยสุเทพ มะม่วงจะเกิดการทำลายของเพลี้ยกระโดด

4. แมลงที่เข้าทำลายผล; เป็นการทำลายผลผลิตในระยะสุดท้ายซึ่งจะประกอบด้วย
-กลุ่ม Thysanoptera (เพลี้ยไฟ) ทำให้ผลด้านด่างไม่ได้ราคา
-กลุ่ม Homoptora จะดูดกินเช่นกันแต่กลุ่มนี้จะเข้าไปทำลายน้อยมาก
-กลุ่ม Fruit fly (Diptera:Bactocera sp.) แมลงวันผลไม้นี้ตัวแก่ของมันจะใช้อวัยวะวางไข่ ฝังไข่ไว้ที่ผิวมะม่วงเมื่อมันโตขึ้นมาก็จะชอบไชออกมาจะทำให้มะม่วงเน่าและล่วงหล่นไปในที่สุด ข้อจำกัดของแมลงกลุ่มนี้จะเข้าทำลาย เมื่อ มะม่วงแก่แล้ว
- กลุ่ม Fruit Piercing Month; กลุ่มนี้ยังไม่มีวิธีการกำจัดที่เหมาะสม การแนะนำจากจากกรมวิชาการเกษตร โดยการใช้ สับปะรดชุบยาป้องกันมวนหวานแขวนไว้ในสวนผลไม้ แต่ไม่ได้ผลเพราะมวนหวานที่เจาะผลไม้ที่แท้จริงจะไม่กินผลไม้ที่ปอกเปลือกให้กิน กลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1.Primary Fruit Piercing Moth; กลุ่มนี้จะมีปากแข็งที่จะเจาะผลไม้ได้ดีมากเป็นศัตรูที่แท้จริงของไม้ผล
2.Secondary Fruit Piercing Moth; กลุ่มนี้จะเข้ากินตามกลุ่มแรกที่เจาะไว้แล้วโดยจะดูดจากรูที่พวกแรกเจาะเอาไว้ วิธีการกำจัดยังไม่มีการค้นพบที่ถูกต้องแต่ในต่างประเทศ เช่นในญี่ปุ่นจะใช้วิธีจุดไฟไล่ หรือวิธีอีกวิธีการหนึ่งคือการกำจัดพืชอาศัย (Host) เช่นบอระเพ็ดซึ่งจะเป็นที่อาศัยของ Primary Fruit Piercing Moth ได้ แต่ก็ยากมากเพราะบอระเพ็ดขึ้นได้ทั่วไปในป่าของประเทศไทย
5. แมลงที่เข้าทำลายราก
แมลงที่เข้าทำลายรากของพืชนั้นพบว่ามักเป็นแมลงกลุ่ม Homoptera เข้าทำลาย ยกตัวอย่างเช่น ลำไยบนที่ดอนจะ พบพวกเพลี้ยแป้งเข้าทำลายที่ราก

การป้องกันกำจัดแมลงคืออะไร?
การให้ความจำกัดความการป้องกันกำจัดนั้นค่อนข้างยาก ขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่าผลผลิตนั้นจะเสียหายขนาดไหน หากพิจารณาแยกแยะออกไปก็คือการควบคุมหรือป้องกันแมลงไม่ให้มีปริมาณสูงเกินไปจนถึงปริมาณมากถึงกับขนาดเข้าทำลายในระดับเศรษฐกิจ
ในการป้องกันกำจัดแมลงจะต้องรู้และเรียงลำดับความสำคัญในการทำลายของแมลง ตลอดจนถึงชื่อทางวิทยาศาสตร์ของแมลง ทั้งที่เป็นประโยชน์ในการค้นคว้าเอกสารได้ง่าย โดยเฉพาะวงจรชีวิตของแมลง ทั้งนี้เพื่อจะสามารถทราบจุดอ่อน และจะสามารถกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดต่อไป

คำจำกัดความที่สำคัญ
Insect control : หมายถึงระดับการควบคุมระดับประชากรแมลงให้อยู่ในระดับต่ำ โดยทั่วไปให้ต่ำกว่าการทำลายระดับเศรษฐกิจ
Economic threshold (ET): หมายถึงระดับที่แมลงระบาดถึงจุดหนึ่งแล้วเข้าทำลายจนทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อผลผลิตในระบบเศรษฐกิจ ทำให้ผลผลิตน้อยลง
Economic injury level (EIL) : เป็นระดับที่แมลงระบาดก่อความเสียเข้าทำลายในระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง หรืออีกนัยหนึ่งทำให้เกิดการเสียหายมาก
Equilibrium position(EP): เป็นลักษณะการระบาดของแมลงในระดับธรรมดา หรือระบบ สมดุลย์ตามธรรมชาติ

ขั้นตอนในการกำจัดแมลง (Ultimate step in insect control)
โดยทั่วไปแล้ว EP มักจะอยู่ต่ำเสมอ หากเกิดระบาดขึ้นจำเป็นจะต้องมีการศึกษาถึง population density หากพบว่าประชากรแมลงเริ่มระบาดถึงระดับ ET ก็จะมีการป้องกันและกำจัดให้จำนวนประชากรลงน้อยไปไม่ให้สูงกว่า ET
ดังนั้นขั้นตอนในการป้องกันและกำจัดจึงประกอบด้วย
1. การศึกษาชนิดของแมลง (Insect identification and classification) เป็นการศึกษาชนิดของแมลงเพื่อประโยชน์ในการป้องกันกำจัด
2. การสำรวจจำนวนหรือปริมาณที่แมลงระบาด (Insect surveys)
3. การศึกษาลงไปในรายละเอียดของแมลงที่ระบาด (Detail study on each insect pest) เป็นจุดสำคัญในการศึกษาวงจรชีวิต พฤติกรรม ของแมลง แต่ละระดับของวงจรชีวิต
4. การเลือกวิธีการป้องกันกำจัด (Selection of controlling measurs)

การชลประทาน

การชลประทาน
ธนัท ธัญญาภา (2537) กล่าวว่า การให้น้ำสวนไม้ผลจะเป็นสิ่งจำเป็น หรือมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและภูมิประเทศ สวนผลไม้เก่าๆ ในภาคกลางของประเทศไทยโดยทั่วไปไม่มีการให้น้ำแก่ต้นไม้ผลเลย อย่างไรก็ตาม สวนไม้ผลที่ทำการผลิตเป็นการค้าและต้องการผลผลิตสูง จำเป็นต้องมีการให้น้ำในฤดูแล้ง แต่การศึกษาเกี่ยวกับการให้น้ำแก่ไม้ผลในประเทศไทยยังมีไม่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการน้ำของไม้ผลแต่ละชนิดในสภาพแวดล้อมต่างๆ วิธีการให้น้ำปริมาณต่างๆ และเวลาที่ควรจะให้แก่ต้นไม้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ สวนไม้ผลที่มีแหล่งน้ำบริบูรณ์มักจะให้น้ำมากเกินควร ในขณะที่สวนไม้ผลที่มีแหล่งน้ำจำกัดให้น้ำไม่พอเพียงทำให้สูญเสียผลผลิตไปจำนวนมาก ดังนั้นในบทนี้จึงได้เพิ่มวิธีการคำนวณการให้น้ำแก่พืช ขึ้นเพื่อเป็นปฐมบทแก่นักศึกษาพืชสวนหากต้องการรู้เพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ในวิชาการจัดการน้ำของพืชสวน







รูปที่ 1.11 การวางท่อโคนต้น รูปที่ 1.12 ติดตั้งประตูน้ำ

การให้น้ำไม้ผลควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
1 ) ความต้องการน้ำของต้นไม้ผล พืชจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเจริญเติบโตและชดเชยการคายน้ำในสภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำจะทำให้พืชคายน้ำมาก ความต้องการน้ำของพืชเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่จะเป็นตัวกำหนดปริมาณและเวลาที่จะให้น้ำ หลังจากนั้นก็จะต้องพิจารณาถึง 2 ) ความชื้น ในดิน ซึ่งในฤดูแล้งดินมีความชื้นต่ำ เมื่อน้ำในดินมีไม่พอเพียงที่จะชดเชยการคายน้ำ พืชจะอยู่ในสภาพขาดน้ำ ถ้าสภาพนี้รุนแรงมากขึ้นพืชจะเริ่มเหี่ยวและถ้าสภาพนี้ยังคงอยู่ต่อไปพืชจะตายในที่สุด ความชื้น ในดินจะเป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำที่จะให้แก่ต้นไม้ผลและท้ายสุดต้องคำนึงถึง 3 )ชนิดของดิน ทั้งนี้ดินเหนียวจะมีปริมาณน้ำที่เป็นประโยชน์แก่พืชมากกว่าดินร่วน และดินทรายตามลำดับ การให้แก่แก่ดินเหนียวจึงสามารถเว้นระยะได้นานกว่า สำหรับดินทรายมีความสามารถดูดซับน้ำไว้ได้น้อยจึงควรให้น้ำบ่อยๆ แต่ละครั้งที่ให้ก็ควรจะให้ในปริมาณที่พอที่พืชจะนำไปใช้ได้ ดังนั้น ชนิดของดินจึงเป็นตัวกำหนดความถี่ในการให้น้ำ

วิธีการให้น้ำ
วิธีการให้น้ำมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน ผู้ปลูกไม้ผลจะต้องศึกษาหาวิธีที่เหมาะสมกับสภาพสวนไม้ผลของตน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนการลงทุนสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่นไม้ผลที่มีราคาถูกถ้าเลือกวิธีการให้น้ำที่ต้องลงทุนสูงก็จะทำให้ได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า และสวนไม้ผลที่ได้น้ำมาในราคาถูกก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งต้องลงทุนสูง เป็นต้น วิธีการให้น้ำแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
การให้น้ำที่ทำให้ดินเปียกโดยทั่วถึง ซึ่งแบ่งได้ 2 พวก
1. การควบคุมระดับน้ำในดิน เมื่อต้องการให้น้ำแก่พืชจะสูบน้ำใส่คูคลองจนทำให้ระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้นจนถึงบริเวณราก แล้วจึงลดระดับน้ำใต้ดินลงให้พ้นบริเวณราก
2. การให้น้ำแก่ผิวดิน ได้แก่การให้น้ำแบบท่วมแปลง โดยแบ่งเป็นแปลงๆ
และการให้น้ำแบบพ่นฝอย (sprinkler)
การให้น้ำให้ดินเปียกเฉพาะบางส่วนของแปลง ซึ่งแบ่งได้ 2 พวก คือ
1.การให้น้ำใต้ผิวดิน โดยการฝังระบบให้น้ำไว้ใต้ดิน วิธีนี้จะประหยัดน้ำได้มากที่สุด แต่ต้องลงทุนสูง การออกแบบและการดูแลรักษาซ่อมแซมค่อนข้างจะยุ่งยาก
2.การให้น้ำแก่ผิวดิน ได้แก่การให้น้ำแบบร่องและการให้น้ำแบบหยด และพ่นฝอยเป็นที่ ( localized irrigation)
ในปัจจุบันนี้การให้น้ำแบบหยดและการให้น้ำแบบพ่นฝอยได้รับการพัฒนามากขึ้น เพื่อใช้ในพื้นที่ที่มีน้ำจำกัดหรือราคาสูง










รูปที่ 1.13 การให้น้ำเหนือทรงพุ่ม รูปที่ 1.14 การให้น้ำโคนต้น





ข้อได้เปรียบของการให้น้ำแบบหยด และพ่นฝอยเป็นที่ (localized irrigation)
1. ทำให้การจัดการอื่นๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวก หรือทำได้ในขณะที่ให้น้ำ เช่น การตัดแต่งกิ่ง การเก็บเกี่ยว และการพ่นยาป้องกันกำจัดโรคแมลงสามารถทำได้ในขณะที่ให้น้ำ แต่ถ้าใช้วิธีการให้น้ำแบบอื่นอาจมีปัญหา
2. ประหยัดค่าแรงงานและพลังงานที่ใช้ในการให้น้ำ เมื่อเทียบกับการให้น้ำแบบพ่นฝอย(sprinklers)จะประหยัดได้ 50-70 เปอร์เซ็นต์
3. สามารถควบคุมปริมาณน้ำที่จะให้ได้ดี ช่วยประหยัดน้ำไม่ให้สูญเสียในรูปที่ระเหยหรือไหลซึมพ้นเขตราก เมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำแบบพ่นฝอย มีรายงานว่าช่วยประหยัดน้ำได้ 20-50 เปอร์เซ็นต์
4. สามารถให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ำ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการให้ปุ๋ย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย มีรายงานว่าทำให้ผลผลิตสูงขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการให้น้ำแบบอื่นๆ
5. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดโรคแมลง และวัชพืช เนื่องจากการให้น้ำแบบหยดและพ่นฝอยเป็นที่จะไม่ทำให้ใบเปียก ทำให้สารเคมีที่พ่นไว้ที่ใบไม่ถูกชะล้าง ความชื้น ในอากาศจะไม่สูงขึ้น ช่วยลดปัญหาโรคบางชนิด และบริเวณที่ไม่ได้น้ำหยดดินและพ่นฝอยเป็นที่จะแห้งมากจนวัชพืชแห้งตาย
7. ในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม และน้ำที่จะใช้มีเกลืออยู่ในปริมาณมากเมื่อใช้วิธีการให้น้ำแบบน้ำหยดและพ่นฝอยเป็นที่จะช่วยให้ปลูกพืชบางอย่างได้ เพราะระบบน้ำหยดและพ่นฝอยเป็นที่จะทำให้ดินมีความชื้นสูงตลอดเวลา ทำให้เกลือมีความเข้มข้นต่ำกล่าวระดับอันตรายตลอดเวลา
8. ดินที่มีปัญหาการ ให้น้ำแบบอื่น สามารถใช้ระบบน้ำหยดและพ่นฝอยเป็นที่โดยไม่มีปัญหา เช่น ดินเหนียวจัดเมื่อให้น้ำแบบพ่นฝอยจะมีปัญหาน้ำซึมลงไปในดินช้ามาก ทำให้น้ำท่วมผิวดินและไหลออกนอกแปลงปลูก ส่วนดินทรายจัดไม่สามารถให้น้ำแบบร่องได้ เพราะมีอัตราการซึมสูงจนไม่มีน้ำไหลไปถึงปลายร่อง ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการให้น้ำแบบหยดและพ่นฝอยเป็นที่ 9. เมื่อแหล่งน้ำมีน้ำจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่งน้ำที่ให้น้ำออกมาช้าๆ เช่นแหล่งน้ำซับหรือบ่อบาดาลที่มีน้ำไม่บริบูรณ์ เมื่อใช้วิธีการให้น้ำอื่นๆ แล้วมีปัญหาน้ำไม่พอเพียง จำเป็นต้องใช้ระบบน้ำหยดและพ่นฝอยเป็นที่
10. บนพื้นที่ภูเขา มักจะมีปัญหาไม่สามารถให้ด้วยวิธีอื่นๆ เพราะมีความยุ่งยากในการจัดการ จึงจำเป็นต้องให้น้ำแบบหยดและพ่นฝอยเป็นที่
ข้อเสียเปรียบของการให้น้ำแบบหยด และพ่นฝอยเป็นที่
1. มีปัญหาในการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการอุดตัน 2. ในพื้นที่มีปัญหาดินเค็มบริเวณรอบนอกของดินที่เปียกน้ำจะมีการสะสมเกลือสูงขึ้น เมื่อ มีฝนตกเล็กน้อยฝนจะละลายเหลือบริเวณนี้ทำให้มีเกลือสูงขึ้นอาจเป็นอันตรายต่อรากพืช
3.จำกัดการเจริญเติบโตของรากพืชให้อยู่เฉพาะบริเวณใกล้ตำแหน่งน้ำหยด
4. เมื่อต้องการเพิ่มความชื้นของอากาศ การให้น้ำแบบพ่นฝอยจะช่วยได้ แต่การให้น้ำแบบ หยดจะไม่สามารถเพิ่มความชื้น ในอากาศ
5.การให้น้ำแบบหยด ต้องใช้ทุนเริ่มแรกสูง การออกแบบ งานแผน และการแก้ไขดัดแปลงจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ






รูปที่ 1.15 การให้น้ำบริเวณโคนต้นมะม่วง

การตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่ง
วัตถุประสงค์ของการตัดแต่งกิ่ง (Pruning Fundamentals) สุเมษ เกตุวราภรณ์ (2537)แบ่งออกเป็นข้อๆ ดังนี้
1. ตัดแต่งเพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม (Prune to thin dense growth) ต้นไม้โดยปกติธรรมชาติ หากไม่มีการตัดแต่งเลยจะมีทรงพุ่มที่แน่นทึบ อับลม แสงแดดส่องไม่ทั่วถึง เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง นอกจากนี้ถ้าหากทรงพุ่มของต้นไม้ผลที่ยื่นไปชนกับทรงพุ่มกับอีกต้น ปริมาณที่ทรงพุ่มชนกันมักไม่ออกดอกออกผล การตัดแต่งเพื่อวัตถุประสงค์ลดความแน่นทึบของทรงพุ่มก็เพื่อจะให้แสงส่องได้อย่างทั่วถึง ทำให้ส่วนที่อยู่ข้างในทรงพุ่มหรือข้างล่างได้รับแสง กิ่งที่มีแมลงทำลาย นอกจากนั้นยังเป็นการตัดแต่งเพื่อไม่ให้ทรงพุ่มชนกับต้นอื่น การตัดแต่งเพื่อลดความแน่ทึบของทรงพุ่ม ดังแสดงในภาพที่ 2.6ก.
2. ตัดแต่งเพื่อ ทำลายกิ่งที่เสียหาย (Prune to correct or repair damage) กิ่งของไม้ผลมีกจะถูกทำลายอยู่เสมอ อาจเนื่องมากจากลมทำให้กิ่งฉีกขาด โรคหรือแมลงทำลาย ทำให้กิ่งแห้งตายหรือหักเหลือตอถึง ชาวสวนต้องตัดแต่งเพื่อทำลายกิ่งที่เสียหายเหล่านี้ เพราะเมื่อปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นที่สะสมของโรคที่เกิดขึ้นได้ การตัดแต่งเพื่อทำลายกิ่งที่เสียหาย ดังแสดงในรูปที่ 2.6 ข.
3. ตัดแต่งเพื่อกระตุ้นให้เกิดดอกและผล (Prune to encourage flower and fruit production) ปกติชาวสวนที่ปลูกไม้ผลย่อมต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพของดอกและผล การตัดแต่งจะช่วยทั้งกระตุ้นให้เกิดกิ่งใหม่หรือตาใหม่ ทั้งตาใบและตาดอก เช่น ในกรณีของน้อยหน่าฝรั่ง นอกจากนี้ยังให้ผลที่มีจำนวนพอเหมาะกับลำต้น ทำให้ผลมีคุณภาพที่ดี การตัดแต่งเพื่อกระตุ้นให้เกิดดอกและผล
4. ตัดแต่งเพื่อบังคับให้ได้รูปทรง (Prune to direct or control growth) จากากรตัดแต่ง ผู้ตัดแต่งจะสามารถจัดรูปทรงได้ เพราะทุกครั้งที่ผู้ตัดแต่งกิ่งออกกิ่งจะหยุดการเจริญเติบโตในทิศทางนั้น และจะเจริญเติบโตในทิศทางอื่น ซึ่งผู้ตัดแต่งสามารถบังคับได้ เช่น จะให้ต้นไม้ผลแตกกิ่งข้างออกมาๆ ก็ตัดกิ่งยอดออกทิ้ง หรือกรณีที่ต้องการให้เจริญเติบโตในสวนยอดก็ตัดกิ่งข้างออก นอกจากนี้การตัดแต่งยังสามารถบังคับขนาดของทรงพุ่มได้
5. การตัดแต่งเพื่อให้ได้รูปทรงพิเศษ (Prune to achieve a special effect or an artificial form) การตัดแต่งนอกจากจะได้รูปทรงตามที่ต้องการแล้ว การตัดแต่งยังจะทำให้ผู้ตัดแต่งได้รูปทรงพิเศษอีกได้ ต้นไม้ที่สูงชะลูดตัดแต่งให้เป็นไม้พุ่มได้ ต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขาไว้ทุกทิศทางอาจบังคับให้แตกไปเพียงสองทิศ ในด้านการปลูกไม้ผลในปัจจุบันการตัดแต่งเพื่อวัตถุประสงค์ข้อนี้จะทำให้ลดระยะระหว่างต้นของไม้ผลได้ โดยบังคับให้กิ่งจำนวนก้านของต้นไม้ผลแตกไปทิศทางสองทิศด้านที่ไม่มีกิ่งก้านยื่นไปก็ย่นระยะเข้าหากันได้ ทำให้ได้จำนวนต้นต่อพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดรูปทรงให้เป็นรูปร่างต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ปลูกไม้ผลเพื่อใช้เป็นไม้ประดับสถานที่ได้อีกด้วย การตัดแต่งเพื่อให้ได้รูปทรงพิเศษดังแสดงในภาพที่2.6 จ.
6. ตัดแต่งเพื่อการขนย้าย (Prune to compensate for transplanting) การปลูกไม้ผลบางครั้งต้องมีการขนย้ายปลูก หรือย้ายจากแปลงเพาะเพื่อปลูก โดยปกติพืชจะเจริญเติบโตโดยมีสมดุลระหว่างรากกับกิ่งก้านและใบ ในการขนย้ายรากอาจถูกทำลายได้บ้าง ดังนั้นการคายน้ำจกใบกับปริมาณแร่ธาตุอาหารหรือน้ำจากรากจึงไม่สมบูรณ์ ต้นไม้อาจจะได้รับอันตราได้ การตัดแต่งส่วนลำต้นออกบ้างในการขนย้าย จะเป็นการช่วยลดอันตรายของพืชได้






รูปที่ 1.4 การตัดแต่งยอดพืชเพื่อให้แตกใหม่ รูปที่ 1.5 ภาพตัดของน้อยหน่า

หลักในการตัดแต่งกิ่ง
1. ตัดแต่งกิ่งให้ใบได้รับแสงโดยทั่วถึง เพื่อให้ต้นไม้ผลมีประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงเต็มที่
2. ตัดแต่งให้มีการระบายอากาศภายในต้นดี จะช่วยในการป้องกันกำจัดโรคแมลง เพราะการระบายอากาศดีจะช่วยลดความชื้นสัมพัทธ์ภายในพุ่มใบ นอกจากนี้การพ่นยาป้องกันกำจัดโรคแมลงก็ทำได้อย่างทั่วถึง
ควรตัดกิ่งที่สานกันหรือกิ่งที่มีทิศทางไม่เป็นระเบียบอก
ตัดกิ่งมุมแคบซึ่งมีปัญหาฉีกหักออก
กิ่งที่แห้งตายเพราะโรคหรือแมลงจะต้องตัดออก
ตัดแต่งกิ่งให้มีการรับน้ำหนักสมดุลย์บนลำต้น
ควรตัดให้มีแผลเรียบติดกับกิ่งใหญ่เพื่อให้แผลหายเร็ว
การตัดแต่งกิ่งมีความสำคัญมากในไม้ผลเขตหนาว ผู้ที่ทำการตัดแต่งกิ่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับอุปนิสัยการเจริญเติบโตทางกิ่งใบและการออกดอกของไม้ผลที่ปลูก เช่น ท้อจะออกดอกบนกิ่งอายุ 1 ปี ดังนั้น จะต้องตัดแต่งกิ่งอายุ 1 ปี ให้กระจายรอบต้นอย่างสมดุลย์ และต้องประมาณให้มีการออกดอกพอเหมาะกับขนาดของต้น แต่การตัดแต่งกิ่งแอปเปิ้ลจะต้องพิจาณาว่าพันธุ์แอปเปิ้ลที่ปลูกนั้นเป็นชนิดที่ออกดอกบนกิ่งแบบยอดข้อสั้น (spur) หรือยอดข้อยาว (shoot) จากนั้นจึงทำการตัดแต่งเพื่อให้มีจำนวนดอกและการกระจายของดอกเป็นไปตามที่ต้องการ
สำหรับไม้ผลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ส่วนใหญ่จะทำการตัดแต่งกิ่งแต่เพียงเบาบางยกเว้น ในกรณีที่จะทำการเปลี่ยนยอดพันธุ์ (Top working) จึงจะมีการตัดแต่งกิ่งอย่างหนัก
รูปแบบของการตัดแต่ง
การตัดแต่งโดยทั่ว ๆ จะมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. เด็ดยอดหรือเด็ดตา (Pinching) โดยการใช้มือเด็ดเอาส่วนยอดออกหรือตาอ่อนออก ทั้งนี้เพื่อบังคับให้แตกกิ่งก้านสาขาตามที่ต้องการ วิธีการดังแสดงในรูปที่ 2.7 ก.
2. การตัดกิ่งให้เบาบางลง (Thinning) การตัดแต่งวิธีนี้จะตัดทั้งกิ่งทิ้งเพื่อให้ทรงต้นโปร่ง กระตุ้นกิ่งที่เหลืออยู่ให้เจริญเติบโต นอกจากนั้นยังช่วยทำลายกิ่งที่ไม่ต้องการเช่นกิ่งไขว้กัน กิ่งกระโดง กิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลาย ลักษณะการตัดแต่งให้เบาบางลงดังแสดงในรูปที่ 2.7 ข.
3. การตัดยอดให้สั้น (Heading back ) จะช่วยกระตุ้นการเจริญของจุดเจริญให้มีมากขึ้น เพราะตาอ่อนที่อยู่บนยอดจะปล่อยฮอร์โมนพวก auxin เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง เมื่อ


เครื่องมือเครื่องใช้ในการตัดแต่งกิ่ง
ฉลองชัย แบบประเสริฐ( 2526) ได้แสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการตัดแต่งกิ่งดังต่อไปนี้
1. กรรไกรตัดแต่งกิ่ง (Pruning shear) โดยทั่วไปมักเป็นกรรไกรที่มีใบมีดด้านหนึ่งคมบางอีกด้านหนึ่งคมหนา ด้านบางทำหน้าที่ตัด ด้านหนาทำหน้าที่ยึดกิ่งที่ตัด วิธีจับกรรไกรที่ถูกต้องถ้าถนัดมือขวา ควรถือกรรไรกรให้ด้ามของคมมีดที่บางอยู่ทางนิ้วชี้ถึงนิ้วก้อย ส่วนด้ามของคมหนาอยู่ทางนิ้วหัวแม่มือ เวลาจะอ้าคมกรรไกร ใช้นิ้วทั้งสี่จับด้ามด้านคมมีดด้ามกรรไกร แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือเปิดล๊อคก็จะอ้ากรรไกรได้ เมื่อใช้เสร็จปิดล๊อคก็ทำอย่างเดียวกัน ที่ล๊อคกรรไกรบางรุ่นอาจทำไว้ที่ปลายด้ามกรรไกร






รูปที่ 1.6 เครื่องมือที่ใช้ตัดแต่งกิ่ง
ปกติเราใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกินครึ่งนิ้ว ถ้ากิ่งที่จะตัดมีขนาดใหญ่กว่าครึ่งนิ้ว เรามักใช้เลื่อยตัดแต่งกิ่งกิ่งใดที่เราตัดออกมามักตัดให้ชิดโคนกิ่ง ในตำแหน่งจากจุดที่กิ่งนั้น ๆ แตกออกมาไม่ให้เหลือเศษเพราะถ้าเหลือเศษไว้ ถ้ามีตาเหลืออยู่กิ่งจะแตกใหม่จากตาที่เหลือไว้ทำให้เสียเวลาต้องมาตัดต้นใหม่อีกดังนั้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีหลักอยู่ว่าเราต้องให้คมของใบมีด้านแบนแนบกับกิ่งที่จะเอาไว้ เช่นถ้าตัดกิ่งที่ชี้ออกทางด้านซ้ายของต้น เวลาตัดให้คว่ำมือคมกรรไกรด้านแบนจะแนบลำต้นพอดีไม่มีเหลือเศษ (ตอ) และถ้าจะตัดกิ่งที่อยู่ด้านขวาลำต้นออก ให้พลิกกรรไกรหงายมือเอาคมมีดด้านแบนแนบกับลำต้นหรือกิ่งอีกเช่นกัน






รูปที่ 1.7 กรรไกรลมใช้ตัดแต่งกิ่งไม้
2. เลื่อยตัดแต่งกิ่ง (Pruning saw) ใช้สำหรับตัดแต่งกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ครึ่งนิ้วขึ้นไปเลื่อยบางชนิดใช้ตัดแต่งกิ่งที่มีขนาดใหญ่ได้ดี เช่น 4-10 นิ้ว ควรใช้เลื่อยคันธนู ถ้ากิ่งขนาด 0.5 - 4 นิ้ว ควรใช้เลื่อยตัดแต่งกิ่งเล็กเลื่อยตัดแต่งกิ่ง มีทั้งชนิดฟันเลื่อยคมกัดเนื้อไม้ เมื่อดึงเลื่อยเข้าหาตัวและชนิดคมสองทาง ชนิดคมสองทางใช้ได้ดีกว่าคมทางเดียว และปัจจุบัน เลื่อยเล็กตัดแต่งกิ่งนี้มีชนิดด้ามไม้ ด้ามเหล็กด้ามพลาสติก ชนิดพับเก็บใบเลื่อยได้ และที่พับเก็บใบเลื่อยไม่ได้ ชนิดพับเก็บใบเลื่อยได้ ที่มีขายอยู่ปัจจุบันเป็นแบบที่เบากะทัดรัด เมื่อไม่ใช้สามารถพับใบเลื่อยที่มีคมเก็บไว้ในกระเป๋ากางเกงได้ หรือเมื่อต้องการเปลี่ยนใบเลื่อยใหม่ก็มีจำหน่ายให้ดีกว่า รุ่นพับคมใบเลื่อยไม่ได้หลายอย่าง แต่ราคาก็แพงกว่าประมาณ 2-3 เท่า







รูปที่ 1.8 แสดงการตัดกิ่งด้วยเลื่อย
วิธีการตัดแต่งกิ่งด้วยเลื่อย การตัดกิ่งเอนๆ หรือกิ่งนอน เพื่อเป็นการป้องกันกิ่งที่ตัดมิให้มีรอยแผลใหญ่เกินไปอันเกิดจากกิ่งแตกหัก หรือน้ำหนักของกิ่งที่ถ่วงลง เราอาจตัดแต่งกิ่งให้ห่างจากตำแหน่งที่ต้องการตัดออกไปเล็กน้อย โดยเลื่อยด้านล่างของกิ่งเข้าไป 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งก่อน แล้วจึงเลื่อยด้านบนกิ่งให้กิ่งขาด แล้วจึงเลื่อยกิ่งให้ชิดบริเวณที่ต้องการ รอยแผลที่ตัดควรให้เรียบและเสมอเป็นหน้าเดียว

การตัดแต่งกิ่งใหญ่อย่างถูกวิธี
เพื่อมิให้กิ่งฉีกหักถึงลำต้นเวลาน้ำหนักกิ่งถ่วงลงในขณะตัดกิ่ง ให้ปฏิบัติขณะตัดและรักษาบาดแผลหลังตัดดังนี้คือ
1. เลื่อยทางด้านข้างใต้กิ่งก่อน (ห่างจากโคนกิ่งประมาณ 20 ซม.) เลื่อยเข้าไปในเนื้อไม้ครึ่งหนึ่งหรือเลื่อยไปจนกว่าเลื่อยฝืด 2. จึงตัดหรือเปลี่ยนข้างบน (ห่างจากตำแหน่งที่เลื่อยครั้งแรกประมาณ 30 ซม.) เลื่อยไปจนกว่ากิ่งจะหักลงมา
3. ตัดตอกิ่งที่เหลือชิดโคนต้นให้มากที่สุด และเพื่อป้องกันการฉีกให้ตัดด้านล่างก่อน จึงค่อยตัดด้านบนเช่นเดียวกัน
4. ใช้มีดแต่งบาดแผลให้เรียบรูปไข่ (ป้องกันน้ำขัง)
5. ฉีดยากันเชื้อราทั่วบาดแผล หรือใช้สีทาไม้ทาปิดไว้ กรณีใช้สีทาหากเป็นสีสเปรย์จะป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลายได้ดีกว่าใช้แปรง




รูปที่ 1.9 แสดงการแตกยอดของกิ่งที่ตัดแล้วบันไดตัดแต่งกิ่งไม้ บันไดที่มีขาตั้งสำหรับขึ้นไปยืนตัดแต่งบริเวณปลายชายพุ่ม ซึ่งเป็นกิ่งเล็กไม่สามารถทานน้ำหนักคนได้ อาจทำเป็นนั่งร้านไม้หรือเหล็กก็ได้ วัสดุที่ทำควรมีน้ำหนักเบาแข็งแรงทนทาน
ยารักษาแผล แผลที่เกิดจากการตัดแต่งอาจใช้ยากันราผสมน้ำข้นๆ ทารอบแผลเพื่อป้องกันเชื้อรา เข้าทำลายและช่วยให้ปิดสนิทเร็ว นอกจากยากันราอาจใช้สีน้ำมัน สีพลาสติก ยางมะตอย ฟลิ้นโค๊ท หรือปูนแดงกินกับหมากก็ได้ แต่ปูนแดงกินกับหมากราคาถูกดีที่สุดในต้นที่ตัดแต่งกิ่งเอากิ่งใหญ่ๆ ที่เจริญทางสูงออก เพื่อลดความสูงนั้นควรใช้ปูนขาวผสมกับแป้งเปียกทากิ่งโดยเฉพาะกิ่งที่ถูกแสงแดดมาก เพื่อลดความร้อน (เพราะก่อนตัดยอดกิ่งที่อยู่ถัดลงมาได้รับแสงแดดเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อตัดยอดกลางออกทำให้แสงแดดเผาได้โดยตรง)
หลังจากตัดกิ่งเสร็จต้องรักษาบาดแผลมิให้เชื้อโรคเข้าทำลายทันที (กิ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 นิ้วขึ้นไป) โดยใช้สารเคมีโดยเฉพาะยาป้องกันเชื้อรา (สารประกอบทองแดง) สี, น้ำมัน,ดิน หรือปูนแดง ทาปิดปากแผลเพื่อรักษาบาดแผลให้เชื่อมปิดสนิทได้เร็วขึ้นแต่ถ้าแผลยังไม่ประสานเกิดแผลแห้งลามเข้าไปให้ตัดตัดใหม่อีกครั้ง (ตัดให้ถึงเนื้อไม้ที่ยังไม่ตาย) ในตำแหน่งชิดกับลำต้น ตัดเสร็จแต่งบาดแผลให้เรียบเป็นปากฉลาม พร้อมกับฉีดพ่นด้วยสีให้ทั่วเต็มบริเวณแผล
ในการตัดแต่งกิ่งเพื่อทอนกิ่งให้สั้นไม่หวังให้เกิดกิ่งใหม่นั้น ให้เข้าหน้ากรรไกรหรือเลื่อยชิดข้อ (ตา) ให้มากที่สุด เพื่อมิให้ตาแตกกิ่งใหม่ และไม่ว่าจะตัดเพื่ออะไรก็ตาม ต้องให้รอยแผลเป็นปากฉลามหันออกจากตา (ข้อ) เสมอ







รูปที่ 1.10 สภาพสวนน้อยหน้าที่ตัดแต่งแล้ว
เวลาของการตัดแต่ง
ระยะเวลาของการตัดแต่ง นั้นควรมีอยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะการกำจัดกิ่งที่ไม่พึงประสงค์ กิ่งเป็นโรค กิ่งที่ถูกแมลงทำลายออกให้ทรงต้นโปร่งอยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ตามก็ควรมีระยะเวลาตัดแต่งใหญ่ประจำปีบ้าง ซึ่งไม้ผลแต่ละชนิดมีช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมแตกต่างกันในที่นี้จะขอกล่าวเพียงคร่าวๆ คือ
1. ไม้ผลที่ไม่ผลัดใบ ระยะเวลาที่เหมาะสมควรเป็นต้นฤดูของการเจริญเติบโต ช่วงต้นฤดูฝน
2. ไม้ผลผลัดใบ ระยะเวลาที่เหมาะสมควรเป็นหลักการจากการผลัดใบของไม้ผลชนิดนั้นแล้ว
3. ตัดแต่งหลังการเก็บเกี่ยวผล เพื่อทายลายกิ่งที่แห้งกิ่งที่เป็นโรค หรือตัดกิ่งที่ออกผลไปแล้วเพื่อให้แตกกิ่งใหม่ ทำให้ทรงต้นโปร่งและบำรุงต้นไม้ผลให้สมบูรณ์ต่อไป

ปริมาณของกิ่งที่ตัดออก
การตัดแต่งไม้ผลแต่ละชนิด ผู้ตัดแต่งต้องคำนึงถึงปริมาณการตัดแต่งของกิ่งที่ตัดออก โดยแบ่งคร่าวๆ ได้ 3 วิธีการ 1. การตัดแต่งอย่างเบาบาง (light pruning) วิธีการนี้เป็นการตัดแต่งเพียงเล็กน้อย ภายหลังที่ต้นไม้ผลได้รับการจัดทรงพุ่มที่ถูกต้องแล้ว ผู้ตัดแต่งมักจะตัดเอากิ่งที่ไม่พึงประสงค์ อาทิ เช่น กิ่ง

แห้ง กิ่งถูกโรคและแมลงเข้าทำลายออก เป็นต้น ถ้าตัดแต่งกิ่งออกมากเกินไปต้นอาจโทรมได้ ตัวอย่างไม้ผลพวกนี้เช่นส้ม ทุเรียน เงาะ ลำใย ลิ้นจี่
2. การตัดแต่งกิ่งปานกลาง (medium pruning) การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้ปริมาณของกิ่งที่ถูกตัดออกจะมากกว่าวิธีแรกคือ นอกจากจะเอากิ่งที่ไม่พึงประสงค์ออกแล้ว อาจจะตัดยอดออกเพื่อทำลายอิทธิพลของ auxins ซึ่งทำให้เกิด apical dorminance เช่น ในกรณีของมะนาวฝรั่ง (lemon) หรือตัดกิ่งออกให้หมดเพื่อให้ทรงต้นโปร่งอยู่เสมอ เช่น กรณีของลำใย ลิ้นจี่ มะม่วง
3. การตัดแต่งกิ่งอย่างหนัก (heavy pruning) ไม้ผลหลายๆ ชนิดต้องการตัดแต่งที่หนักมาก เช่น น้อยหน่า จะตัดแต่งจนโกร๋นไปทั้งต้น หลังจากที่ตัดกิ่งที่ไม่พึงประสงค์ออกแล้ว จะทำการตัดแต่งกิ่งแขนงย่อยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งเล็กกว่า 4 มิลลิเมตรออก ตัดส่วนปลายยอดของทุกกิ่งที่เหลือ แล้วทำการรุดใบทิ้งให้หมด ทั้งนี้เพื่อเป็นการบังคับให้เกิดดอกเกิดผล หรือการตัดแต่งพุทราก็เช่นเดียวกัน ตัดแต่งกิ่งในปริมาณที่มาก ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งใหม่ขึ้น ทำให้เพิ่มคุณภาพและปริมาณของผล
ข้อควรระวังในการตัดแต่ง ผู้ตัดแต่งต้นไม้ต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ในการตัดแต่งแต่ละครั้งหรือแต่ละกิ่งท่านมีโอกาสเพียงครั้งเดียว คิดให้ดีก่อนที่จะตัด ตัดแล้วไม่สามารถทำให้กลับคืนได้ นอกจากนั้นตัดแต่น้อย การตัดแต่งกิ่งน้อยกินไปจะให้ผลที่ดีกว่าตัดออกมากเกินไป

การตัดแต่งกิ่งไม้ผลเขตร้อน
การตัดแต่งกิ่งมะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ
การตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่ปลูกในระยะชิด
1. เริ่มจากการเลี้ยงยอดหรือ ลำต้น ที่เกิดจากการติดตาจนสูง 50 เซนติเมตร
2. ใช้เล็บสะกิดยอดออก หรือใช้ปลายมีดบากเป็นรูปสามเหลี่ยมปลิดตายอดออกเพื่อให้ตาข้างที่อยู่ใกล้ๆ ระดับเดียวกันแตกออกเป็นกิ่งข้าง
3. ปล่อยให้ตาข้างแตกโดยอิสระ เมื่อกิ่งแตกออกมามีความยาว 3-4 นิ้ว เลือกเลี้ยงกิ่งที่แข็งแรงมีขนาดใกล้เคียงกันไว้ 3-4 กิ่ง และ ควรมีทิศทางที่เป็นมุมพอดีได้ระยะกันไม่แคบหรือกว้างเกินไป
4. เมื่อยอดที่เลี้ยงไว้ 3-4 กิ่ง พอเป็นใบแก่ก็ทำลายยอดอีกครั้งเพื่อให้แตกกิ่งแขนงพร้อมกัน และเลือกไว้ยอดละ 2 กิ่ง เลือกกิ่งที่สมบูรณ์อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามมีง่ามกิ่งกว้าง มุมง่ามกิ่งประมาณ 60 องศา ถึงรัศมียอดทั้งหมดจะได้ 6-8 ยอด

5. เมื่อยอดชั้นที่ 2 เลี้ยงไว้ 6 หรือ 8 กิ่ง เกิดใบแก่อีกครั้งก็จะทำลายยอดเช่นกัน ขั้นตอนที่ 2 และ 3 และเลี้ยงไว้ ยอดละ 3 กิ่ง มุมง่ามกิ่งประมาณ 45 องศา ก็จะได้ยอดครั้งนี้ (ครั้งสุดท้าย) 18 หรือ 24 กิ่ง
6. ถ้าเขียนเป็นสูตรตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงขั้นสุดท้ายคือ 1-3-6-18 หรือ 1-4-8-24 ถ้าการตัดแต่งกิ่งเลี้ยงยอดไว้ครั่งละ 3 กิ่ง ตลอดก็จะได้เป็นสูตร 1-3-9-27

การตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่ให้ผลแล้วระยะชิด เมื่อปลูกมะม่วงไปได้ 3-4 ปี เป็นช่วงที่จะเริ่มให้ต้นมะม่วงออกดอกและผลอย่างเต็มที่ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะต้องทำการตัดแต่งกิ่ง เพื่อควบคุมทรงพุ่มของต้นมะม่วงให้มีขนาดเท่าเดิม การตัดแต่งกิ่งจะต้องตัดให้เหลือสั้นโดยตัดจากปลายกิ่งลึกเข้ามา 3 ช่วงใบ ทุกกิ่งทุกต้น ซึ่งตัดแล้วทรงพุ่มมะม่วงจะเหลือประมาณ 2 ช่วงใบ (ช่วงการเจริญ) และการตัดใบครั้งต่อๆ ไป ก็จะทำในลักษณะเดียวกันนี้ แต่จะเหลือโคนกิ่งของช่วงใบที่ 3 ติดอยู่ปลายกิ่ง ช่วงใบที่ 2 กิ่งละ 2 ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร โดยเลือกเอากิ่งที่แตกเข้าในพุ่มไว้ เพื่อป้องกันมิให้ทรงพุ่มมีขนาดเกิน 1 เมตร
การตัดแต่งกิ่งจะอาศัยตาที่โคนกิ่ง เมื่อกิ่งแตกออกมาโตพอสมควร ควรจะทำการ ปลิดกิ่งที่ไม่ต้องการออก เหลือไว้แต่กิ่งที่เจริญเหมาะสมการตัดแต่งกิ่งจะต้องมีการวางแผนและเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อนแล้วจึงจะทำให้ยอดที่แตกออกมาแก่และสมบูรณ์พอที่จะออกดอกได้ในปีนั้นเลย ถ้าไม่มีการเตรียมการหรือตัดแต่งช้าเกินไป จะส่งผลต่อผลผลิตที่จะได้ในปีนั้นอาจจะลดลงไปได้มาก

การจะตัดแต่งควรทำในเดือนมิถุนายน ซึ่งยอดจะแก่ในเดือนพฤศจิกายน ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน นับตั้งแต่ตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่ให้ผลแล้ว (ต้นใหญ่)
ครั้งที่ 1 ควรเริ่มลงมือตัดแต่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแล้วทุกปี ประมาณต้นเดือนมิถุนายน มะม่วงยังไม่แตกใบอ่อน โดยเริ่มเลือกตัดแต่งกิ่งจากโคนต้นกิ่งใดกิ่งหนึ่งไปถึง ปลายกิ่งจนครบทุกกิ่ง กิ่งที่ควรจะตัดทิ้งได้แก่
1. กิ่งน้ำค้างหรือกิ่งกระโดง
2. กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งแห้ง
3. กิ่งไขว้ คือกิ่งที่ชี้ผิดทิศทางไปชี้ออกนอกขายพุ่ม
4. กิ่งกาฝาก และกิ่งที่ฉีกหักเสียหาย
5. กิ่งซ้อนทับ คือกิ่งที่เกิดในตำแหน่งใกล้เคียงกัน ควรตัดออกกิ่งหนึ่ง
6. ในตำแหน่งกิ่งใหญ่ๆ มีกิ่งแซมให้ตัดออก
7. ต้นที่ถูกลมพัดยอดเอียง หรือต้นที่สูงเกินไป อาจจะตัดกิ่งที่สูงเกินออกไป
8. ตำแหน่งปลายกิ่งมีกิ่งแตกเป็นกระจุกไว้ 2-3 กิ่ง ให้เป็นมุมสวยงามห่างกัน
นอกจากนั้นจะต้องมีการตัดแต่งกิ่งบริเวณปลายกิ่ง เพื่อควบคุมทรงพุ่มทรงต้น การตัดแต่งกิ่งที่ปลายกิ่ง จะเป็นส่วนช่วยให้การออกดอกและติดผลของมะม่วง เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

วิธีการตัดแต่งกิ่งมะม่วงเพื่อควบคุมทรงพุ่ม เป็นการตัดแต่งที่ปลายกิ่งซึ่งจะปฏิบัติดังนี้คือ
1. ถ้าตัดมะม่วงที่ทรงพุ่มเพิ่งเริ่มจะชนกัน การตัดแต่งปลายกิ่งจะตัดในลักษณะตัดลึกจากปลายกิ่งเข้ามา 1 ช่วงข้อ โดยตัดทุกกิ่งทุกต้น
2. ถ้าต้นมะม่วงที่ทรงพุ่มมาเกย การตัดแต่งปลายกิ่งจะตัดในลักษณะ ตัดลึกจากปลายกิ่งเข้ามา 2-3 ช่วงข้อ โดยตัดแบบกิ่งเว้นกิ่งทุกต้น หรือตัดปลายกิ่งทุกกิ่งแต่ตัดต้นเว้นต้นก็มีค่าเท่ากัน
3. ตัดที่ตัดในลักษณะตั้งข้อ 2 ยังเห็นว่าทรงพุ่มยังทึบอยู่ก็อาจจะตัดเป็นลึกจากปลายกิ่งเข้ามา 2-3 ช่วงข้อ โดยตัดทุกกิ่ง ทุกต้นเลย
การตัดแต่งปลายกิ่งควรจะทำราวเดือนมิถุนายน ยอดอ่อนก็จะแตกราวเดือนกรกฏาคม และมาแก่ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะทันต่อการออกดอกพอดี
ครั้งที่ 2 จะดำเนินการหลังจากหมดฝนแล้ว โดยจะตัดแต่งกิ่งที่แตกออกมาจากส่วนของกิ่งใหญ่ และลำต้นภายในทรงพุ่ม

การตัดแต่งกิ่งฝรั่ง
วัตถุประสงค์หลักของการตัดแต่งฝรั่งแปรรูปก็คือทำให้เกิดความสะดวกและประหยัดในการเก็บเกี่ยวเป็นสำคัญ ก่อนจะตัดแต่งจะต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่าจะเก็บเกี่ยวด้วยวิธีใด เพื่อที่จะตัดแต่งลำต้นตั้งแต่พื้นดินจนถึงระยะ 80 เซนติเมตร ให้เกลี้ยงเกลาไม่มีกิ่งต้นเกะกะ ถ้าใช้คนเก็บก็ไม่จำเป็นต้องเอาพุ่มเหล่านี้ออกจะ ปล่อยให้เป็นพุ่มหรือเป็นแท่นก็แล้วแต่จะต้องการ การตัดแต่งมักจะเริ่มทำหลังปลูกลงดินแล้วประมาณ 4-6 เดือน
การตัดแต่งกิ่งฝรั่งกินสด วัตถุประสงค์หลักคือ ให้เกิดโครงการร่าง และเรือนกิ่งที่แข็งพร้อมจะออกลูกดกโดยกิ่งไม่ซอกซ้ำ ฉีกขาด รักษาขนาดผลให้ใหญ่อยู่เสมอ เพราะฝรั่งพอกิ่งแก่ เกิน 3 ปี ลูกจะเล็กลง ดังนั้นจึงต้องให้มีกิ่งอายุ 1-3 ปี ไว้กับต้นเสมอเมื่อผลิตออกลูก
วิธีทำก็คือทุก 2-3 ปี จะต้องสงกิ่งออกบ้าง โดยการตัดยอดหรือตัดข้างพอประมาณ กิ่งใหม่ก็จะแตกออกมาจำนวนลูกต่อต้นจะน้อยลง แต่ขนาดใหญ่ขึ้น
หลังจากตัดแต่งกิ่ง ทั้งใบและกิ่งฝรั่งจะลดลง โอกาสที่ถูกจะถูกแสงแดดจัดจนผิวไหม้เสียราคาได้ โดยเฉพาะกับฝรั่งกินสดมีมาก

การตัดแต่งกิ่งไม้ผลเขตกึ่งร้อน
1.การตัดแต่งกิ่งส้ม
การตัดแต่งกิ่งส้ม อายุ 1-2 ปี โดยคำนึงถึงการใช้ทรงพุ่มเป็นส่วนใหญ่ แบ่งได้ 2 พวก
1. พวกที่มีลักษณะลำต้นเป็นต้นเดียว การตัดแต่งกิ่งพวกนี้ มักจะตัดให้สูงจากพื้นดินประมาณ 60 ซม. โดยตัดยอดทิ้งไป หลังจากนั้นจะมีกิ่งแขนงเล็กๆ แตกออกมาจากโคนกิ่งเป็นจำนวนมาก เมื่อกิ่งเหล่านี้เจริญเติบโตขึ้นมาดีแล้วให้เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไว้สัก 4-5 กิ่ง ให้แต่ละกิ่งมีระยะห่างกันพอสมควรและกิ่งแขนงห่างสุดควรสูงจากพื้นดิน 30-45 ซม. กิ่งแขนงที่อยู่ต่ำกว่านี้ให้ตัดทิ้ง
2. พวกที่มีกิ่งเป็นง่าม หลังปลูกแล้วควรตัดทิ้งเสีย 1 กิ่ง โดยเลือกกิ่งที่มีลักษณะตรงและสมบูรณ์ไว้ เพื่อให้เหลือกิ่งโด่งแล้วจึงจัดการการตัดแต่งกิ่งเหมือนกิ่งพวกแรก
เมื่อต้นส้มเขียวหวานมีอายุประมาณ 2 ปีขึ้นไป จะมีกิ่งแขนงแตกออกมามากให้ตัดแต่งกิ่งเล็กน้อยและกิ่งที่ไม่ต้องการออกทิ้งให้หมด เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง
สำหรับการปฏิบัติการตัดแต่งกิ่งของการปลูกส้มโอในปัจจุบัน ส่วนมากแล้วชาวสวนมักจะไม่ทำการตัดแต่งกิ่งกัน อาจมีบ้างแต่ก็มีการตัดแต่งกิ่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น กิ่งที่ต้องตัด เช่น กิ่งแห้งตาย กิ่งรกรุงรังบริเวณส่วนต่างและกิ่งกระโดงแต่กิ่งกระโดงจากต้นที่มีขนาดเล็กจะไม่ตัดทิ้งเพราะจะไว้เป็นพุ่มต่อไปได้
การปลูกส้มโอของชาวสวนส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้มีทรงพุ่มแน่นทึบ ใบสมบูรณ์ สีเขียวเข้ม ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ว่า การสะสมอาหารของส้มส่วนใหญ่จะเก็บเอาไว้ที่ใบ การให้มีใบส้มติดอยู่ที่ต้นมาก จึงเท่ากับให้ส้มเก็บสำรองอาหารเอาไว้ได้มาก พอที่จะติดดอกติดผล เหตุผลอื่นๆ เช่น ในช่วงฤดูแล้งส้มมีใบมากจะช่วยกันแดดทำให้ร่มรื่นอากาศชุ่มชื้นดี เก็บรักษาความชื้นไว้ได้มาก
การตัดแต่งกิ่งส้มในระยะหลังจากให้ผลผลิตแล้ว จะต้องกระทำทุกๆ ปี หลังจากเก็บเกี่ยวผลเสร็จแล้วและทำการใส่ปุ๋ยด้วย เพื่อให้ต้นส้มได้รับสารอาหารที่จะนำไปใช้ในการแตกกิ่งก้านใหม่ต่อไป กิ่งที่จะต้องทำการตัดแต่งกิ่งในช่วงนี้ควรตัดกิ่งที่มีลักษณะดังนี้
1. ตัดกิ่งที่ลักษณะไม่สมบูรณ์ หรือกิ่งน้ำค้างเพื่อให้ต้นส้มดูดอาหารไปเลี้ยง กิ่งที่ต้องการให้สมบูรณ์เต็มที่
2. ตัดกิ่งที่ปลายกิ่งชิดดินทิ้ง เพื่อสะดวกต่อการใส่ปุ๋ย การพรวนดิน กำจัดวัชพืช
3. ตัดกิ่งที่มีลักษณะไม่ดีทิ้ง เช่น กิ่งคด งอ ไขว้กัน เพื่อป้องกันการเสียดสีของกิ่ง ซึ่งอาจจะเกิดเป็นแผล เป็นผลทำให้เชื้อโรคเข้าทำลายทางบาดแผลได้ง่าย
4. ตัดกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลาย
5. ตัดแต่งกิ่งที่รกทึบด้านล่างและกลางลำต้นออก เพื่อให้แสงส่องเข้าถึง โคนต้นได้ทั่ว ซึ่งเป็นผลใน การป้องกันโรคและแมลงที่จะทำลายบริเวณโคนราก

การตัดแต่งกิ่งลิ้นจี่
วิธีการตัดกิ่งและช่วงเวลาการตัดแต่งกิ่งในรอบปี
1. การตัดแต่งกิ่งระยะแรกก่อนตกผลคือ การตัดแต่งกิ่งปีแรกจนถึงลิ้นจี่อายุได้ 4 ปี การตัดแต่งกิ่งมุ่งไปในทางแต่งกิ่งให้ได้ทรวดทรง โครงสร้างที่แข็งแรง ลิ้นจี่จะแตกใบอ่อนกิ่งก้านสาขาอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง คือ ฤดูฝน 2 ครั้ง ในฤดูหนาว 1 ครั้ง และฤดูร้อน 1 ครั้ง ถ้ามีการให้น้ำ หรือได้รับน้ำบำรุงรักษาอย่างดี การแตกใบอ่อนกิ่งก้านสาขา แต่ละครั้งมากมายเราต้องตัดแต่งกิ่ง ช่วงเวลาตัดแต่งกิ่ง คือ หลังจากเวลาแตกใบอ่อนแล้ว ใบอ่อนกลายเป็นใบแก่ควรจะตัดแต่งกิ่ง หรือช่วงเวลาใส่ปุ๋ยแล้ว แต่ทางที่ดีควรตัดแต่งกิ่งในช่วงเวลาเหล่านี้ในรอบ 1 ปี
ตัดแต่งกิ่งในฤดูฝน 2 ครั้งและตัดแต่งกิ่งในฤดูหนาว 1 ครั้งรวมทั้งหมดตัดแต่งกิ่ง 3 ครั้ง ในรอบปี ก็เป็นการเพียงพอ สำหรับสิ้นจี่ต้นที่ยังไม่ออกดอกติดผล

การตัดแต่งกิ่งระยะลิ้นจี่ตกผลแล้ว คือ การตัดแต่งกิ่งลิ้นจี่ที่มีต้นโตแล้วพอที่จะออกดอกติดผลหรืออายุ 5 ปี ขึ้นไปจนถึงอายุแก่ 25 ปี ควรตัดแต่งในรอบปี สำหรับลิ้นจี่ที่มีอายุตกผลได้ปี 2 ครั้ง คือ
2.1 ตัดแต่งกิ่งหลังเก็บผลแล้ว หลังจากเก็บผลแก่ของลิ้นจี่สู่ตลาดแล้วควรจะได้ตัดแต่งกิ่งออกอย่างน้อย 20 % ของกิ่งที่มีอยู่ กิ่งลิ้นจี่ที่ควรเอาออก คือ
กิ่งที่ถูกกิ่งอื่นบังแสงแดด ไม่ได้รับแสงเต็มที่กิ่งที่เป็นรอยแตกร้าว หรือถูกหนอนเจาะกิ่งที่คดและยาวเกินไปกิ่งที่ยื่นออกมาจากพุ่ม ต้องใช้ไม้ค้ำยัน เพราะไม่สามารถจะทรงตัวได้กิ่งเล็กกิ่ง อ่อนซึ่งจะไม่ออกผลกิ่งที่ถูกตัวไรสนิมเข้าทำลาย ใบหงิกงอเป็นกำทะหยี่ ตัดกิ่งออกแล้วเผาเสีย
การตัดแต่งกิ่งก่อนตกผล หมายถึง ก่อนจะเวลาดอกตูมให้เห็นในช่วงปลายฝน เดือนตุลาคม เจ้าของสวนควรใช้กรรไกรเล็กตัดแต่งกิ่งออกเสียบ้าง ให้โปร่งได้รับแสงและอากาศถ่ายเทได้สะดวกเอากิ่งเล็กออกประมาณ 10 % ของกิ่งทั้งหมด

การตัดแต่งกิ่งลิ้นจี่ที่แก่แล้ว ลิ้นจี่ต้นแก่ที่บางต้นแตกใยอ่อนปีละ 1 ครั้ง กิ่งก้านสาขาบังแสดงแดดกัน ดังนั้นจึงแตกออกได้ยาก 2-3 ปี ติดผลครั้ง การปรับปรุงสวนลิ้นจี่ต้นแก่นี้ ถ้าลิ้นจี่แก่ทรงพุ่มชิดกันควรเลือกตัดแต่งกิ่งต้นลิ้นจี่ออกให้หมดเหลือ ไว้แต่ตอ ควรทำก่อนฤดูฝนตัดตอออกเป็นรูปปากฉลาม สูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร แล้วทาสีตรงที่รอบตัดพอถึงฤดูฝนบริเวณริมรอยตัดของตอลิ้นจี่จะมีกิ่งลิ้นจี่แตกออกมากมาย ให้ตัดหรือเด็ดกิ่งอ่อนที่ออกใหม่ทิ้ง ให้เหลือกิ่งที่เราต้องการไว้ ต่อมาอีก 2 ปี ลิ้นที่ต้นแก่ที่เสื่อมโทรมจะติดดอกออกผลดีเช่นเดียวกัน กับลิ้นจี่เมื่ออายุ 8 - 12 ปีก่อน การบังแสงก็จะไม่เกิดขึ้นในสวนลิ้นจี่

ในกรณีที่ลิ้นจี่วัยตกผลหรืออายุระหว่างตกผล คือ 5 - 20 ปี เกิดอุบัติเหตุถูกลมพายุลูกเห็บตก หักโค่น กิ่งหัก เราก็ใช้วิธีตัดแต่งกิ่งลิ้นจี่มาใช้ได้ โดยการรีบตัดกิ่งที่หัก ต้นที่โค่นให้เหลือแต่ตอ แล้วบำรุงเลี้ยงหน่อที่แข็งแรงไว้ ใช้เวลา 2 ปี ก็จะเป็นต้นพุ่มดีเช่นเดิม

การตัดแต่งกิ่งลำไย
วิธีการปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
1. การเลือกไว้กิ่งแขนงใหญ่กรณีแตกออกอยู่เหนือระดับดิน ให้พยายามเลือกกิ่งที่ทำมุมกว้างกับลำต้นให้มากที่สุด กิ่งไหนทำมุมกับลำต้นแคบเกินไปให้ตัดทิ้ง โดยเลือกไว้ประมาณ 3 - 5 กิ่งใหญ่ ๆ แต่กรณีที่ลำต้นหลายต้นแตกจากโค่นต้นระดับผิวดินก็ไม่จำเป็นตัดแต่งยอดกลาง แต่ใช้ไว้กิ่งเหล่านั้นแทน ตัดเฉพาะกิ่งล่าง ๆ ระดับดินออก
2. หลังการเก็บเกี่ยว ให้ตัดแต่งกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ เช่น กิ่งเป็นโรคและแมลงตลอดจนกิ่งที่เกิดภายในทรงพุ่ม เพื่อใช้ทรงพุ่มโปร่ง
3. การตัดแต่งกิ่งที่ให้ผลแล้ว พยายามตัดปลายทิ้งให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้แต่ต้องให้เหลือใบไว้จำนวนหนึ่ง (ตัดแต่งครั้งเดียวทันทีหลังเก็บเกี่ยวผล)
4. ขณะเก็บเกี่ยวผล ถ้าทำได้และเป็นไปได้ให้ตัดแต่งไปพร้อม ๆ กันเลยโดยเฉพาะกิ่งที่อยู่สูงสุด แต่งให้ทรงพุ่มต้นโปร่งขึ้น เป็นการประหยัดแรงงาน
5. โดยทั่วไปการตัดแต่ง จะทำให้มีการแตกยอดใหม่หลายกิ่งในตำแหน่งเดียวกัน ดังนั้นต้องทำการตัดแต่งอีกครั้งหนึ่ง เป็นการเลือกไว้กิ่งลักษณะนี้จะลดจำนวนช่อที่ไม่สมบูรณ์ลง ทำให้ช่อที่ติดผลมีโอกาสเจริญเติบโตเป็นช่อที่สมบูรณ์ ผลผลิตและคุณภาพดี
6. กิ่งที่ไม่ออกดอกในปีผ่านมา ยอดยาว ให้ตัดปลายกิ่งเหล่านี้ออกให้เสมอกันทั้งพุ่มทำให้สะดวกต่อการปฏิบัติงานในสวน
7. การเก็บเกี่ยวผลโดยการตัดช่อผลให้ลึกเข้าไปหากิ่งประมาณ 1/2 - 1 ฟุต
8. ระยะช่วงฝนหรือก่อนใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ควรตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งน้ำค้างออกก่อนเพราะช่องนี้มักมีกิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาก

การตัดแต่งไม้ผลเขตหนาว
การตัดแต่งกิ่งแอปเปิ้ล
การตัดแต่งกิ่งแอปเปิ้ลจะใช้วิธีแบบเลี้ยงยอดกลางหรือดัดแปลงยอดกลาง ซึ่งการตัดแต่งทรงต้นแบบนี้จะทำให้ได้กิ่งที่มีความแข็งแรง กิ่งแขนงที่แตกออกมาได้รับแสงแดดทั่วถึง และมีการระบายอากาศดี
เมื่อต้นแอปเปี้ลมีอายุมากขึ้น การตัดแต่งกิ่งหลักคือ การตัดแต่งกิ่งที่แน่นและซ้อนกันออก สำหรับการตัดแต่งกิ่งประจำปี จะมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้มีการแตกกิ่งหรือสเปอร์ใหม่ๆ
ขั้นตอนในการตัดแต่งกิ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
เมื่อต้นแอปเปี้ลมีความสูงประมาณ 1 เมตร ก็ตัดยอดออกให้มีความสูงเพียง 70 ซม. แล้วปล่อยให้แตกต่างกิ่งใหม่ เมื่อกิ่งแก่แล้วก็โน้มกิ่งขนานกับพื้น ปลิดใบและปลายยอดออกซึ่งจะช่วยให้ตาแตกออกมาได้ง่าย เมื่อกิ่งใหม่แตกออกมาแล้วก็จัดให้มีระยะห่างกันพอสมควรและเด็ดยอดของกิ่ง เพื่อไม่ให้กิ่งเจริญทางกิ่งใบมากเกินไปแล้วกักน้ำระยะหนึ่ง ขณะที่ทำการกักน้ำอยู่ต้องคอยสังเกตุการทางออกของใบ เมื่อใบทำมุมตั้งฉากกับกิ่งแล้ว แสดงว่าตายอดซึ่งเป็นตาผสมมีความพร้อมที่จะแตกออกก็ทำการปลิดใบออก พร้อมกับโน้มกิ่ง หลังจากนั้นก็ให้น้ำตามปกติ หลังจากปลิดใบประมาณ 1 เดือน ตายอดจะแตกช่อดอกและใบออกมา

การตัดแต่งกิ่งท้อ
การตัดแต่งกิ่งท้อแบ่งออกได้ 2 ระยะ คือ
1. การตัดแต่งกิ่งท้อที่อายุยังน้อยอยู่ โดยเฉพาะทำให้ใช้การตัดแต่งกิ่งทรงต้นแบบตัดยอดกลาง การสร้าง frame work นั้น จะเริ่มโดยการตัดยอดกลางให้รอยตัด (head) สูงจากพื้นดินประมาณ 60 ซม. และตัดกิ่งแขนงออกมาจากลำต้นให้เหลือประมาณ 1-2 ตา เมื่อตาของกิ่งแขนงแตกสาขาออกมาแล้วก็เลือกตัดกิ่งสาขาออกให้เหลือกิ่งที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะสมประมาณ 3 กิ่ง ออกประมาณ 1 ใน 3 ของความยาว เพื่อกระตุ้นให้แตกสาขาออกไปอีก
2. การตัดแต่งกิ่งท้อที่เริ่มตกผล เมื่อท้อมีอายุประมาณ 2 ปีขึ้นไป และจะเริ่มให้ผลผลิตเป็นการค้าได้เมื่ออายุได้ 5-6 ปีขึ้นไป การตัดแต่งต้นท้อนิยมทำในฤดูหนาวขณะที่ต้นยังฟักตัว เนื่องจากสามารถทีปฏิบัติงานได้สะดวก การตัดแต่งในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ท้อให้ผลผลิตที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอทุกๆปี
ท้อเป็นไม้ผลที่มีอายุทางการค้าไม่ยืนนัก ปกติจะมีอายุประมาณ 18-20 ปี หลังจากนั้นต้นจะโทรมให้ผลผลิตลดต่ำลง ซึ่งในสภาพเช่นนี้ อาจจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งอย่างหนัก เพื่อกระตุ้นให้ต้นท้อกลับไปสู่ระยะเยาว์ อีกครั้งหนึ่ง หรืออาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยอด ซึ่งอาจเป็นพันธุ์ใหม่ก็ได้

การตัดแต่งกิ่งพลับ 1. การตัดแต่งทรงพุ่มพลับ การตัดแต่งทรงต้นแบบตัดยอดกลางออก โดยให้มีกิ่งหลัก 3-4 กิ่ง และกิ่งแขนงที่แตกจากหลัก 7-9 กิ่ง 2. การสร้างทรงต้นของพลับนี้ พลับญี่ปุ่นจะสามารถเร่งให้ทรงต้นเข้าที่ได้เร็วกว่าพลับยุโรป เนื่องจากกิ่งของพลับญี่ปุ่นพร้อมที่จะแตกตาแขนงอยู่แล้ว ในขณะที่พลับยุโรป ตาจะฟักตัวอยู่
3. ภายในระยะ 2 ปีแรกของการแต่งทรงต้นจะต้องคอยตอนกิ่ง (heading back) เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างแตกแขนงออกมา เป็นกิ่งแขนง เมื่อได้ทรงต้นตามที่ต้องการแล้วจะต้องคอยควบคุมการเจริญเติบโตของกิ่งที่แตกออกมา
4.ตามปกติแล้วพลับจะมีการออกดอกติดผลบนสปอร์ที่แตกออกมาจากกิ่งแขนงและสปอร์เหล่านี้จะมีอายุ 5-8 ปี การตัดแต่งกิ่งจึงมีเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นให้กิ่งแขนงมีการแตกสปอร์ให้มากที่สุด ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อกระตุ้นให้เกิดสปอร์นี้ ควรทำให้ระยะที่ต้นกำลังฟักตัวอยู่ และเมื่อต้นพลับติดผลจะต้องตัดกิ่งที่ติดผลทิ้งบ้างเพื่อลดภาระเลี้ยงดูผลและกิ่งของต้น และยังช่วยให้การเจริญเติบโตของกิ่งใบที่เหลืออยู่ดีด้วยการจัดกิ่งที่ติดผลออกยังช่วยลดค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการผลัดผลลงได้ส่วนหนึ่ง